กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7417
ชื่อเรื่อง: การสร้างแบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The construction of mthemticl problemsolving process test for students in grde 9 in the office of provincil eduction chonburi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรีพร อนุศาสนนันท์
ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์
นฤมล อำมะรา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: คณิตศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน
การแก้ปัญหา
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหาคุณภาพ และหาคะแนนจุดตัด (Cut scores) ของแบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2560 โรงเรียนในสังกัดศึกษาธิการจังหวัดชลบรุี จำนวน 474 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เป็นปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 36 ข้อ และฉบับที่ 2 เป็ นแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 9 ข้อ ที่สร้างขึ้น หาคุณภาพในด้านความเที่ยงตรงตามเนื้อหา ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความยาก (Difficulty) ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (Discrimination) ความเที่ยงตรงตามสภาพ (Concurrent validity) ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ค่าความเชื่อมั่นของกรรมการผู้ให้คะแนน (Reliability of raters) ค่าความสัมพันธ์ของคะแนนสอบในแบบทดสอบ 2 ฉบับ และหาคะแนนจุดตัด (Cut of scores) ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบทดสอบ จำนวน 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 จำนวน 36 ข้อและฉบับที่ 2 จำนวน 9 ข้อแต่ละปัญหาประกอบด้วยคำถามย่อย 4 คำถาม เพื่อวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา แบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ฉบับที่ 1 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) สูงกว่า 0.5 จำนวน 36 ข้อ และมีค่าดัชนีความสอดคล้องไม่ตรงเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 8 ข้อ ฉบับที่ 2 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) สูงกว่า 0.50 จำนวน 9 ข้อ และมีค่าดัชนีความสอดคล้องไม่ตรงเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 2 ข้อ 2. คุณภาพของแบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ค่าสถิติพื้นฐาน ฉบับที่ 1 จำนวน 36 ข้อคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 21.12 คิดเป็นร้อยละ 58.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 8.44 ฉบับที่ 2 จำนวน 9 ข้อ 90 คะแนน คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 53.07 คิดเป็นร้อยละ 58.97 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 18.43 ค่าความยากของฉบับที่ 1 ตั้งแต่ 0.25-0.79 และฉบับที่ 2 ตั้งแต่ 0.50-0.63 ค่าอำนาจจำ แนกของฉบับที่ 1 ตั้งแต่ 0.21-0.77 และฉบับที่ 2 ตั้งแต่ 0.32-0.67 ค่าความเที่ยงตรงตามสภาพ (Concurrent validity) ของฉบับที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.78 และฉบับที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.82 ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของฉบับที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.93 และฉบับที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.74 ค่าความเชื่อมั่นของกรรมการผู้ให้คะแนน (Reliabilityof raters) ของฉบับที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.99 ค่าความสัมพันธ์ของคะแนนสอบในแบบทดสอบ 2 ฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.90 3. คะแนนจุดตัดของแบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ฉบับที่ 1 ด้วยวิธี Angoff Method คือ 25.98 จากคะแนนเต็ม 36 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 72.17 คะแนนจุดตัดของฉบับที่ 2 ด้วยวิธี Extended Angoff Method คือ 61.25 จากคะแนนเต็ม 90 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 68.06
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7417
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น