กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7392
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมศักดิ์ ลิลา
dc.contributor.advisorมนตรี แย้มกสิกร
dc.contributor.advisorพงศ์เทพ จิระโร
dc.contributor.authorจารินี อิ่มด้วง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:55:15Z
dc.date.available2023-05-12T03:55:15Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7392
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงสภาพและประเมินความต้องการจำเป็นในระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 2) เพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 3) เพื่อพัฒนา ตัวบ่งชี้ในระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 กับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 และ 4) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลการใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 กับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาสภาพและการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง จำนวน 3 คน ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ด้วยการเลือกใช้เทคนิคเดลฟาย มีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ระยะที่ 3 การทดลองใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 โดยทดลองใช้กับโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็ก ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพและการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 สามารถแบ่งปัญหาได้ดังนี้ 1) ปัญหาด้านนักเรียน 2) ปัญหาด้านครู 3) ปัญหาด้านหลักสูตร และ 4) ปัญหาด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยความต้องการจำเป็นที่สูงที่สุดในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 3 คือ จำนวนการรับ นโยบายเรียนฟรีที่ไม่มีการควบคุมดูแล และงบประมาณ ส่วนการพัฒนาการอบรม ความรู้ความสามารถบุคลากรใหม่ และกิจกรรมการเรียนรู้เชิงวิชาการ ถือเป็นการพัฒนาที่มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด 2. ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1) การปฏิบัติงานของสถานศึกษา 2) การประเมินตนเอง ของสถานศึกษา 3) รายงานประจำปี ซึ่งมาตรฐานที่ควรมีในระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประกอบด้วย 1) นักเรียน ประกอบด้วย การรับนักเรียน และการส่งเสริมและพัฒนา 2) ครู ประกอบด้วย การพัฒนาความรู้ความสามารถ พัฒนาคุณธรรม พัฒนาบุคลากรใหม่ การติดตาม การทำงานและความโปร่งใส การอบรม และการสร้างขวัญกำลังใจ 3) หลักสูตร ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร และการตรวจสอบหลักสูตร และ 4) สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ประกอบด้วย ผู้ปกครอง และสิ่งอำนวยความสะดวก 3. การพัฒนา ตัวบ่งชี้ในระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 กับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 โดยการวิเคราะห์ ความถูกต้องเหมาะสมและความสอดคล้องของตัวบ่งชี้ของระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ด้วยวิธีการคำนวณค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ (Inter quartile range) ของความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ตัวบ่งชี้ของคู่มือระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ที่พัฒนาขึ้นมีความถูกต้องเหมาะสมอยู่ในระดับมากหรือมากที่สุดในทุกรายการ 4. ผลการทดลองใช้ระบบและผลการประเมิน พบว่า ผลการประเมินระหว่าง การประเมินตนเองโดยสถานศึกษา และการประเมินโดยกลุ่มผู้ประเมินมีคะแนนต่างกันเล็กน้อย แสดงว่าคู่มือระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผู้ที่นำไปใช้มีความเข้าใจในการประเมินผลใกล้เคียงกับผู้ประเมินที่ผ่านการอบรมก่อนการทำการประเมิน ซึ่งการตรวจสอบมาตรฐานตัวบ่งชี้และระบบประกันคุณภาพการศึกษา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ภายหลังการนำคู่มือระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ไปทดลองใช้ โดยการประเมินความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ในระบบประกันคุณภาพการศึกษา แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) การใช้ประโยชน์ 2) ความเป็นไปได้ 3) ความเหมาะสมในกฎระเบียบจริยธรรม/ จรรยาบรรณและความปลอดภัย และ 4) ความถูกต้อง พบว่า ด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม และด้านการใช้ประโยชน์มีผลคะแนนการตรวจสอบในระดับสูงมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.62 4.57 และ 4.55 ตามลำดับ ส่วนด้านความเป็นไปได้มีผลการคะแนนตรวจสอบในระดับสูง โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.27
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectประกันคุณภาพการศึกษา -- การประเมิน
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษา -- การประเมิน
dc.subjectการศึกษาขั้นมัธยม -- การจัดการศึกษา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.titleการประเมินความต้องการจำเป็นและการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3
dc.title.alternativeThe needs ssessment nd development of internl qulity ssurnce system for the secondry eductionl service re office level re 3
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to study the environment and assess the need for the development of internal quality assurance system at the secondary educational office service area 3, 2) to develop the internal quality assurance system for the secondary educational service area 3, 3) to develop the indicators of internal quality assurance system for the schools in secondary educational office service area 3, and 4) to test and evaluate the use of internal quality assurance system for the secondary educational office service area 3. The study were conducted in 3 phas: Phase 1: A study of the environment and assess the need for the development of the internal quality assurance system for secondary education office service area 3. The sample are 3 key informants, which were chosen by purposive selection. Phase 2: The development of the internal quality assurance system for the secondary education office service area 3. a Delphi technic was used to gather information from 17 experts. Phase 3: The implementation of the internal quality assurance system. The implementation was done at 4 school sizes; the extra large school size, the large school size, medium school size, and small schools size. The results were that: 1. The results of the environment and need assessment for the development of the internal quality assurance system for secondary education office service area 3, can be classified into the following factors: 1) Student problems, 2) Teacher problems, 3) Curricular problem, and 4) Learning support problem. And The essential needs for the development of the internal quality assurance were (1) the number of enrollment, (2) free learning policies, and (3) budgets. While the low needs were (1) training of new personne, and (2) academic learning activities. 2. The internal quality assurance system for the secondary educational office service area 3 consist of 3 main components: 1) School Process, 2) School Self-evaluation, and 3) Annual Report. The standard that should be included in the internal quality assurance system were; 1) Student; student’s enrollment and development, 2) Teachers, development of knowledge, morality, new personnel, work tracking, trustworthy, training, and morale, 3) Curriculum; curriculum development and curriculum review, and 4) Learning supports; student guardian and learning facilities. 3. The appropriateness and consistency of indicators in the internal quality assurance system for the secondary educational office service area 3, within area 3 schools were analyzed based on the inter quartile range calculation method (IQR) of the expert opinion. The result were that the developed have validity at high or highest level in every item. 4. The results of the system evaluation were that there are small difference in assessment score between school self-evaluation and assessment by the assessors. This could be concluded that the system manual help understanding the context and purpose of internal quality assurance system. In addition the results of the standard and indicator evaluation of the internal quality assurance system were divided into 4 areas: 1) Utilization 2) Feasibility 3) Ethics and Safety, and 4) Accuracy. The accuracy, ethics and safety, and utilization have highest level of verification, with average score of 4.62, 4.57, and 4.55 respectively, While feasibility was at high level of verification, with average score of 4.27.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น