กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7387
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุเมธ งามกนก | |
dc.contributor.advisor | ประยูร อิ่มสวาสดิ์ | |
dc.contributor.author | ศรัญญา พันธุนาคิน | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:55:14Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:55:14Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7387 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (กศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาตราด ปีการศึกษา 2560 ซึ่งใช้เกณฑ์กำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่าง จากตาราง กลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, p. 608) ได้กลุ่มตัวอย่าง 285 คน จากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามขนาดโรงเรียนเป็นชั้น แล้วทำ การสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) จำแนกตามโรงเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ครั้งนี้ จำนวน 60 ข้อ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนประถมศึกษา โดยอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .23-.93 มีค่า ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาการบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา รายด้านจากมากไปหาน้อย 3 อันดับ ด้านการสร้าง ความพอประมาณ ด้านการบริหารงานบนฐานของความรู้ ด้านการบริหารงานที่ตั้งอยู่บนคุณธรรม และจริยธรรม 2. การเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำแนกตามเพศ โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. การเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำแนกตาม ประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการสร้างความพอประมาณ ด้านการบริหารงานโดยใช้เหตุผล แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ 4. การเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำแนกตาม ขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการสร้าง ความพอประมาณ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | เศรษฐกิจพอเพียง | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | |
dc.subject | โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร | |
dc.subject | เศรษฐกิจพอเพียง -- การศึกษาและการสอน | |
dc.title | การบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนประถมศึกาษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด | |
dc.title.alternative | Eductionl dministrtion in sufficiency economy in elementry school primry eductionl service re office trd | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to study educational administration according to sufficiency economy for elementary schools under Trad Primary Educationl Service Area Office. The samples used in this study were teachers in schools under the Office of Trad Primary Education Office, academic year 2560, determining the sample size stratified by Krejcie and Morgan table (Krejcie & Morgan, 1970, p. 608). The sample of 285 teachers was sampling. The instrument used in this study was 60 items questionnaires on the administration of the schools according to the philosophy of sufficiency economy for elementary schools. The discrimination power of the questionnaire was .23-.93. The reliability of the questionnaire was .98. The data were analyzed by using mean ( ), standard deviation (SD), t-test, One-way ANOVA and Scheffe's Method The findings were that; 1. The educational administration according to sufficiency economy for elementary school Primary under Trad Educational Service Area Office in overall and individual aspects were at a high level, ranging from: the creation of modesty, management on the basis of knowledge, the management is based on morality and ethics, respectively. 2. The educational administration according to sufficiency economy for elementary school under Trad Primary Educational Service Area Office, according to gender was found no statistically significant different. 3. The educational administration according to sufficiency economy for the Elementary schools classified by work experience was found statistically significant different at .05 level, except for the creation of modesty, management by reason there were no statistically significant differences. 4. The educational administration according to sufficiency economy for the elementary school classified by school size was found statistically significant different at .05 level except for the creation of modesty, with no statistically significant difference. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารการศึกษา | |
dc.degree.name | การศึกษามหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 894.36 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น