กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7359
ชื่อเรื่อง: การศึกษาพฤติกรรมเชิงการเมืองของโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of orgniztion politicl behvior of fculty members in specil eduction school of estern re
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธร สุนทรายุทธ
อนุชิต วันสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: โรงเรียน -- แง่การเมือง
โรงเรียน -- การบริหาร
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมเชิงการเมืองของโรงเรียน ในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออก จำแนกตามภูมิลำเนาเดิมของครู และตำแหน่งวิทยฐานะครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออก จำนวน 143 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 32 ข้อ 8 ด้าน ได้ค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ .32-.83 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสถิติการแจกแจงแบบที (t-test independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่าง รายคู่ ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’ test) ผลการวิจัย พบว่า 1. พฤติกรรมเชิงการเมืองของโรงเรียนการศึกษาพิเศษในภาคตะวันออก มีระดับพฤติกรรม ทางการเมืองในองค์กร ทั้ง 8 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X = 2.34) 2. พฤติกรรมเชิงการเมืองของโรงเรียนการศึกษาพิเศษในภาคตะวันออก จำแนกตาม ภูมิลำเนาเดิมครูในถิ่นกับครูต่างถิ่น ผลการทดสอบค่าเฉลี่ยเพื่อเปรียบเทียบภูมิลำเนาของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ มีผลต่อพฤติกรรมการเมืองในองค์กรต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ พบว่า ครูที่มีภูมิลำนาเดิมในถิ่นมีพฤติกรรมการเมืองอยู่ในระดับมากกว่าครูต่างถิ่น 3. พฤติกรรมเชิงการเมืองของโรงเรียนการศึกษาพิเศษในภาคตะวันออก จำแนกตำแหน่ง วิทยฐานะครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษภาคตะวันออก มีผลต่อพฤติกรรมการเมืองในองค์กรต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ แตกต่างกัน อย่างน้อย 1 ด้าน คือ ด้านการโยนความผิด จึงเปรียบเทียบรายคู่เพื่อหาว่าค่าเฉลี่ยในคู่ ใดบ้างแตกต่างกัน จำแนกตามระดับวิทยฐานะ พบว่า ครู คศ.1 กับ ครู คศ.2 แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ครู คศ.1 กับ ครู คศ.3 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ครู คศ.2 กับ ครู คศ.3 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7359
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น