กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7359
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorธร สุนทรายุทธ
dc.contributor.authorอนุชิต วันสุข
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:46:01Z
dc.date.available2023-05-12T03:46:01Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7359
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมเชิงการเมืองของโรงเรียน ในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออก จำแนกตามภูมิลำเนาเดิมของครู และตำแหน่งวิทยฐานะครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออก จำนวน 143 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 32 ข้อ 8 ด้าน ได้ค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ .32-.83 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสถิติการแจกแจงแบบที (t-test independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่าง รายคู่ ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’ test) ผลการวิจัย พบว่า 1. พฤติกรรมเชิงการเมืองของโรงเรียนการศึกษาพิเศษในภาคตะวันออก มีระดับพฤติกรรม ทางการเมืองในองค์กร ทั้ง 8 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X = 2.34) 2. พฤติกรรมเชิงการเมืองของโรงเรียนการศึกษาพิเศษในภาคตะวันออก จำแนกตาม ภูมิลำเนาเดิมครูในถิ่นกับครูต่างถิ่น ผลการทดสอบค่าเฉลี่ยเพื่อเปรียบเทียบภูมิลำเนาของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ มีผลต่อพฤติกรรมการเมืองในองค์กรต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ พบว่า ครูที่มีภูมิลำนาเดิมในถิ่นมีพฤติกรรมการเมืองอยู่ในระดับมากกว่าครูต่างถิ่น 3. พฤติกรรมเชิงการเมืองของโรงเรียนการศึกษาพิเศษในภาคตะวันออก จำแนกตำแหน่ง วิทยฐานะครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษภาคตะวันออก มีผลต่อพฤติกรรมการเมืองในองค์กรต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ แตกต่างกัน อย่างน้อย 1 ด้าน คือ ด้านการโยนความผิด จึงเปรียบเทียบรายคู่เพื่อหาว่าค่าเฉลี่ยในคู่ ใดบ้างแตกต่างกัน จำแนกตามระดับวิทยฐานะ พบว่า ครู คศ.1 กับ ครู คศ.2 แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ครู คศ.1 กับ ครู คศ.3 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ครู คศ.2 กับ ครู คศ.3 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectโรงเรียน -- แง่การเมือง
dc.subjectโรงเรียน -- การบริหาร
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.titleการศึกษาพฤติกรรมเชิงการเมืองของโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษภาคตะวันออก
dc.title.alternativeA study of orgniztion politicl behvior of fculty members in specil eduction school of estern re
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to study the political behaviors and to compare the political behavior of the special education schools under the jurisdiction of the Eastern Special Education, classified by the region of residence of teachers and the teacher's academic position. The research sample consisted of 143 teachers in schools under the jurisdiction of the Office of Special Education in the Eastern Region. The instruments used in this research were 4-level scale estimation with 32 items. The discriminative power of the instrument was .32-.83 and the reliability was .74. The statistics used were: mean (X), Standard Deviation One-way ANOVA and Scheffe's method. The research finding were as follow: 1. Political Behavior of Special Education Schools in all eight categories were at a high level (X = 2.34). 2. Political Behavior of the Special Education Schools, classified by region of residence; Showed that the teachers in the local area had higher level of political behavior than the local teachers, significantly at .05 level. 3. The political behavior of the special schools classified by academic position affected the management of school administrators in blaming other. The scheffe’s comparison results showed that the first academic rank and third academic rank teachers were different in this as pect as well as the second academic rank and the third academic rank teachers with the statistical difference.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น