กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7331
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการจัดการทางแยกสัญญาณไฟจราจรด้วยรูปแบบการลดจังหวะสัญญาณไฟในทิศทางเลี้ยวขวา กรณีศึกษาสี่แยกบางคล้าจังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The study of signlised intersection mnment by reducing the rightturn movement phses : cse study t Bng Khl intersection, Chchoengso
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นพคุณ บุญกระพือ
สมเดช โสภณดิเรกรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรม -- กลุ่มวิชาเทคโนโลยีการจัดการงานก่อสร้าง
กฎจราจร
สัญลักษณ์และสัญญาณจราจร
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานนิพนธ์ฉบับนี้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงรูปแบบของทางแยกที่ติดตั้งสัญญาณไฟจราจรเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการห้ามรถเลี้ยวขวา ณ บริเวณทางแยกโดยให้รถที่ต้องการเลี้ยวขวาให้เลี้ยวซ้ายและทำการกลับรถบริเวณจุดกลับรถที่ได้มีการออกแบบทางเรขาคณิตใหม่อย่างเหมาะสม ผลจากการจัดการทางแยกรูปแบบนี้ส่งผลให้เกิดการลดจังหวะสัญญาณไฟจราจรจาก 4จังหวะ เหลือเพียง 2 จังหวะและเป็นการจราจรในทิศทางตรงเพียงเท่านั้นที่วิ่งผ่านทางแยกสำหรับทางแยกกรณีศึกษาได้คัดเลือกทางแยกบนทางหลวงหมายเลข 344 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 3121 ที่ กม.89+232 (แยกบางคล้า) โดยได้ทำการสำรวจกายภาพของทางแยก ปริมาณจราจรและระบบสัญญาณไฟจราจรของชั่วโมงเร่งด่วนในปัจจุบัน จากนั้นทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพของทางแยกกรณีศึกษาที่เปลี่ยนไประหว่างสภาพปัจจุบันและภายหลังการปรับปรุงสำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ โปรแกรม SIDRA Intersection ซึ่งเป็นโปรแกรมวิเคราะห์ทางแยกสัญญาณไฟจราจรที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยตัวแปรด้านการจราจรที่ถูกนำมาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของทางแยก ได้แก่ ค่าระดับความอิ่มตัวของทางแยก (Degree of saturation) เวลาความล่าช้า (Control delay) ความยาวแถวคอย (Queue length) และระดับการให้บริการ (Level of service) เป็นต้น ผลจากการศึกษาพบว่า หลังปรับปรุงทางแยกในรูปแบบใหม่สามารถลดค่าระดับความอิ่มตัวที่ลดลงจาก 4.446 เหลือ 0.814 ทำให้ความยาวแถวคอยลดลงจากเดิม 578 คัน เหลือ 30 คัน ส่วนระดับการให้บริการจากเดิมที่อยู่ระดับ F เปลี่ยนไปอยู่ที่ระดับ B เป็นเพราะค่าความล่าช้าเฉลี่ยจาก 1,571.3 วินาที ลดลงเหลือ 10.6 วินาที ทั้งนี้การปรับปรุงรูปแบบทางแยกในการศึกษาวิจัยนี้สามารถทำได้บนทางแยกนอกเมืองอื่นทั่วไปที่มีเขตทาง 80 เมตรได้ และเป็นการปรับปรุงที่ใช้งบประมาณน้อยกว่าการสร้างสะพานลอย (Overpass) และก่อสร้างได้รวเร็วแต่ส่งผลช่วยความคล่องตัวบริเวณทางแยกได้อย่างมาก
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7331
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf10.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น