กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7326
ชื่อเรื่อง: | การปรับปรุงความพึงพอใจการให้บริการในองค์กรภาคอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการคิดเชิงออกแบบ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A stisfction improvement of internl service in mnufcturing firm by service design thinking tools |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรัตถา อุทยารัตน์ วิทยา จันทร์ทรง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ การจัดการอุตสาหกรรม ความพอใจของผู้ใช้บริการ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้เครื่องมือจากแนวคิดของการคิดเชิงออกแบบและพัฒนารูปแบบการประยุกต์การใช้งานของเครื่องมือดังกล่าวเพื่อเป็นต้นแบบการใช้งานแผนผัง ประสบการณ์ผู้ใช้ในการค้นหาปัญหาและเพื่อปรับปรุงระดับความพึงพอใจในกระบวนการการให้บริการกับลูกค้าภายในที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างในการทำวิจัยนี้เป็นลูกค้าภายในจากแผนกควบคุมคุณภาพ แผนกผลิต และแผนกวิศวกรรมการผลิต รวมทั้งสิ้น 69 คน เครื่องมือในการทำงานวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม การสังเกตการณ์การระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและแผนผังประสบการณ์ของผู้ใช้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม Minitab R16 เครื่องมือดังกล่าวช่วยค้นหา สาเหตุของปัญหาจากนั้นได้เสนอวิธีการปรับปรุงการให้บริการจากรูปแบบการประยุกต์ใช้งานของเครื่องมือดังกล่าวที่ได้พัฒนาขึ้น และใช้ในการสำรวจเก็บข้อมูลร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ ผลการวิจัยปรากฏว่า กลุ่มผู้ให้บริการมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสูงสุดและพบว่ากระบวนการการให้บริการการสอบถามสถานะของ การสอบเทียบเครื่องมือวัดมีความสำคัญและจำเป็นในการปรับปรุงมากที่สุด (คัดเลือกด้วยวิธีการถ่วงน้ำหนัก โดยค่าคะแนนรวมเท่ากับ 3.996) และจากการเก็บข้อมูลและดำเนินกิจกรรมระดมสมองสามารถ ค้นหาโอกาสที่จะนำไปกำหนดเป็นหัวข้อในการค้นหาปัญหาในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการให้ดียิ่งขึ้นทั้งหมด 12 โอกาส โดยนำไปกำหนดให้เป็นหัวข้อของปัญหาได้เป็น 10 หัวข้อ และค้นหาวิธีการปรับปรุงกระบวนการให้บริการออกมาทั้งหมด 22 วิธีโดยกลุ่มผู้ให้บริการมีหน้าที่รับผิดชอบในการพิจารณาการปรับปรุงทั้งหมด จากผลการดำเนินการ พบว่า ระดับความพึงพอใจเฉลี่ยของรายการที่ปรับปรุงมีระดับความพึงพอใจที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยระดับความพึงพอใจก่อนปรับปรุงมีค่า 2.256 และหลังปรับปรุงมีค่า 3.056 หรือคิดเป็น 35.88% จากผลการปรับปรุงระดับความพึงพอใจสามารถยืนยัน ได้ว่า วิธีการค้นหาปัญหาด้วยการใช้เครื่องมือของแนวคิดการคิดเชิงออกแบบช่วยให้สามารถเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าภายในได้และทำให้สามารถค้นพบโอกาสในการปรับปรุงในมุมมองที่แตกต่างออกไปจากการค้นหาด้วยวิธีแบบดั้งเดิม ซึ่งทำให้ลูกค้าภายในมีประสบการณ์ที่ดีขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7326 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 19.29 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น