กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7326
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรัตถา อุทยารัตน์ | |
dc.contributor.author | วิทยา จันทร์ทรง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:45:49Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:45:49Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7326 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้เครื่องมือจากแนวคิดของการคิดเชิงออกแบบและพัฒนารูปแบบการประยุกต์การใช้งานของเครื่องมือดังกล่าวเพื่อเป็นต้นแบบการใช้งานแผนผัง ประสบการณ์ผู้ใช้ในการค้นหาปัญหาและเพื่อปรับปรุงระดับความพึงพอใจในกระบวนการการให้บริการกับลูกค้าภายในที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างในการทำวิจัยนี้เป็นลูกค้าภายในจากแผนกควบคุมคุณภาพ แผนกผลิต และแผนกวิศวกรรมการผลิต รวมทั้งสิ้น 69 คน เครื่องมือในการทำงานวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม การสังเกตการณ์การระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและแผนผังประสบการณ์ของผู้ใช้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม Minitab R16 เครื่องมือดังกล่าวช่วยค้นหา สาเหตุของปัญหาจากนั้นได้เสนอวิธีการปรับปรุงการให้บริการจากรูปแบบการประยุกต์ใช้งานของเครื่องมือดังกล่าวที่ได้พัฒนาขึ้น และใช้ในการสำรวจเก็บข้อมูลร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ ผลการวิจัยปรากฏว่า กลุ่มผู้ให้บริการมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสูงสุดและพบว่ากระบวนการการให้บริการการสอบถามสถานะของ การสอบเทียบเครื่องมือวัดมีความสำคัญและจำเป็นในการปรับปรุงมากที่สุด (คัดเลือกด้วยวิธีการถ่วงน้ำหนัก โดยค่าคะแนนรวมเท่ากับ 3.996) และจากการเก็บข้อมูลและดำเนินกิจกรรมระดมสมองสามารถ ค้นหาโอกาสที่จะนำไปกำหนดเป็นหัวข้อในการค้นหาปัญหาในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการให้ดียิ่งขึ้นทั้งหมด 12 โอกาส โดยนำไปกำหนดให้เป็นหัวข้อของปัญหาได้เป็น 10 หัวข้อ และค้นหาวิธีการปรับปรุงกระบวนการให้บริการออกมาทั้งหมด 22 วิธีโดยกลุ่มผู้ให้บริการมีหน้าที่รับผิดชอบในการพิจารณาการปรับปรุงทั้งหมด จากผลการดำเนินการ พบว่า ระดับความพึงพอใจเฉลี่ยของรายการที่ปรับปรุงมีระดับความพึงพอใจที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยระดับความพึงพอใจก่อนปรับปรุงมีค่า 2.256 และหลังปรับปรุงมีค่า 3.056 หรือคิดเป็น 35.88% จากผลการปรับปรุงระดับความพึงพอใจสามารถยืนยัน ได้ว่า วิธีการค้นหาปัญหาด้วยการใช้เครื่องมือของแนวคิดการคิดเชิงออกแบบช่วยให้สามารถเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าภายในได้และทำให้สามารถค้นพบโอกาสในการปรับปรุงในมุมมองที่แตกต่างออกไปจากการค้นหาด้วยวิธีแบบดั้งเดิม ซึ่งทำให้ลูกค้าภายในมีประสบการณ์ที่ดีขึ้น | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | |
dc.subject | การจัดการอุตสาหกรรม | |
dc.subject | ความพอใจของผู้ใช้บริการ | |
dc.title | การปรับปรุงความพึงพอใจการให้บริการในองค์กรภาคอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการคิดเชิงออกแบบ | |
dc.title.alternative | A stisfction improvement of internl service in mnufcturing firm by service design thinking tools | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to use Service Design Thinking tools, famous tools among Service Design business, to extracts the problems, to develop the implication guideline of using a Customer Journey Map, one of the Service Design Thinking tools, and to discover the chances in order to improve internal customer satisfaction of a firm in Automobile industry. Sixty-nine participants from 3 departments, Production, Production Engineering, and Quality Control, participated in this research. The collected data from the survey and the synthesizing of data collected from Service Design Thinking tools were used as knowledge sources to identify causes and problems for internal service of this firm. Minitab R16 software was used to analyze the data as well. After following the implication guideline of Customer Journey Map, mainly developed in this research, the problematic spot, where urgently needed to be improved, was at a “Calibration Status Inquiry” service (with 3.996 scores). Collecting data and using brainstorming techniques were again used to combine the possibilities and finally identify 12 chances of improvement with 10 categories of problems. After improvement, the internal customer satisfaction changed from 2.256 to 3.056 (or 35.88% of improvement). Thus, the implementation guideline purposed in this research was proven to be able to increase the understanding customer hidden needs and solve the customer satisfaction issue by raising new chances to improve from different perspectives which never be able to find from the traditional fashion. As a result, the customer satisfaction was successfully improved at the end of the research. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 19.29 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น