กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7316
ชื่อเรื่อง: การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง เลขยกกำลังชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการสอน STAD
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Action reserch for development of mthemtics chievement in “POWER” for mthyomsuks 5 students using STAD coopertive lerning model
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อังคณา บุญดิเรก
คณินทร์ ธีรภาพโอฬาร
หทัยรัตน์ นาราษฎร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: เลขยกกำลัง (พีชคณิต)
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โดยใช้รูปแบบการสอน STAD ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียโพธิ์ตากพิทยาคม อำเภอโพธิ์ตากจังหวัดหนองคาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 26 คน รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ของ Kemmis and McTaggart จำนวน 3 วงจร ปฏิบัติการ ซึ่งมี 4 ขั้น ตอน คือ1) ขั้นการวางแผนเป็นการศึกษาสภาพปัญหาเอกสาร งานวิจัยที่ เกี่ยวข้องและสร้างเครื่องมือวิจัย 2) ขั้นการปฏิบัติ เป็นการดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างและพัฒ นาขึ้น 3) ขั้นสังเกตการณ์เป็นการใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติการ 4) ขั้นการสะท้อนการปฏิบัติเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยค่าร้อยละและสรุปเป็นความเรียง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจำแนกได้ 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วชิาคณิตศาสตร์เรื่อง เลขยกกำลังชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการสอน STAD จำนวน 6 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของผู้วิจัย แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน แบบบันทึกผลหลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และแบบทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง เลขยกกำลังชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 60.77 และมีจำนวนนักเรียนร้อยละ 73.08 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ60 ขึ้นไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7316
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf7.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น