กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7305
ชื่อเรื่อง: | การสร้างชุดการสอนการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายโดยการใช้เกมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The construction of instructionl pckge to helth relted physicl fitness by using gmes for mthyomsuks 4 students |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิมลรัตน์ จตุรานนท์ เกษมสันต์ พานิชเจริญ เจนจิรา กัลพฤกษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | สมรรถภาพทางกาย (มัธยมศึกษา) มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน เกม -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการสอนสำหรับนักเรียน ตามเกณฑ์ 80/ 80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดการสอนการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย โดยการใช้เกม เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและ หลังเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายโดยใช้เกม และเพื่อวัดเจตคติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อชุดการสอนการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย โดยการใช้เกม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดการสอนการสร้างเสริมสมรรถภาพ โดยการใช้เกม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย โดยการใช้เกม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กไทยอายุ 7-18 ปี โดยกรมพลศึกษา 4) แบบวัดเจตคติที่มีต่อชุดการสอนสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย โดยการใช้เกม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนชลกันยานุกูลโดยการสุ่ม แบบกลุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน จาก 17 ห้องเรียน มีนักเรียนเป็นกลุ่มตัวอย่าง 50 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดการสอนการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย โดยการใช้เกม สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชลกันยานุกูล จำนวน 6 ชุดการสอน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ แต่ละชุด ดังนี้ 82.60, 83.20, 84.60, 82.60, 86.00 และ 86.20 ซึ่งมีประสิทธิภาพ 84.20/ 80.17 ตามเกณฑ์เป้าหมาย 80/ 80 2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 3. การเปรียบเทียบสมรรถภาพางกาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการใช้เกม คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 4. เจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนที่มีต่อชุดการสอนการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย โดยการใช้เกม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7305 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.33 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น