กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/73
ชื่อเรื่อง: การสำรวจและศึกษาแหล่งข้อมูลพื้นฐานทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่นในภาคตะวันออก (ศิลปกรรม-ศิลปหัตถกรรม)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A survey and of the basic sources of arts, culture and local wisdom in the Eastern Region (fine arts and handicraft)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุชาติ เถาทอง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: ภูมิปัญญาชาวบ้าน - - ไทย (ภาคตะวันออก)
ย (ภาคตะวันออก) - - ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
วัฒนธรรมไทย (ภาคตะวันออก)
ศิลปกรรม - - ไทย (ภาคตะวันออก)
ศิลปกรรมไทย (ภาคตะวันออก)
ไทย (ภาคตะวันออก) - - โบราณสถาน
ไทย (ภาคตะวันออก) - - ความเป็นอยู่และประเพณี
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2543
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยแหล่งข้อมูลพื้นฐานทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่นในภาคตะวันออกพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 เขต ได้แก่ เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลหรือ อบต. โดยเน้นความสำคัญเขตพื้นที่ อบต. ครอบคลุม 8 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี จันทบุรี ตราด ระยอง ปราจีนบุรี นครนายก สระแก้ว และฉะเชิงเทรา พิจารณาเห็นว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ระบุว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ประเด็นคือ ยังขาดการศึกษาวิจัยแหล่งข้อมูลพื้นฐานทางศิลปวัฒนธรรมในเขตพื้นที่รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม ดำเนินการรวบรวม จัดแบ่ง ลักษณะ ประเภท และเผยแพร่ไปยังองค์การบริหารส่วนตำบล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การวิจัยครั้งนี้กระทำโดยการศึกษาจากเอกสารและการสำรวจเก็บข้อมูลภาคสนามกลุ่มตัวอย่างในภาคตะวันออก 8 จังหวัด ได้ผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 1.ปัจจัยพื้นฐาน : มีบทบาทต่อรูปแบบศิลปกรรมและศิลปหัตถกรรมในเขตเทศบาลหรือเขตเมืองและเขตนอกเมืองของ อบต. มีความแตกต่างกัน ชุมชนเมืองเป็นศูนย์กลางความเจริญมีการเปลี่ยนแปลงทางรูปแบบของศิลปะและวัฒนธรรมมากกว่าพื้นที่เขตนอกเมือง มีปัจจัยเกื้อหนุนทั้งด้านลักษณะ ตำแหน่ง ที่ตั้งเมืองและการเป็นมลฑลศูนย์กลางการปกครอง2.ศิลปกรรม : จิตรกรรม-ประติมากรรม : บรรทัดฐานจากเมืองหลวงมีอิทธิพลต่อรูปแบบศิลปกรรมแบบประเพณีนิยมในเมือง พบอิทธิพลศิลปกรรมจีนได้เข้ามามีบทบาทแฝงเล้น และบูรณาการกับศิลปกรรมภาคตะวันออก จิตรกรรมฝาผนังแบบพื้นถิ่น มีเอกลักษณ์ของภูมิภาคมากกว่าในเขตเมือง และนิยมสร้างประติมากรรมอนุสรณ์บนเส้นทางเดินทัพอันเป็นลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์3.ศิลปกรรม : สถาปัตยกรรม : อาคารทางพุทธศาสนามีความเป็นต้นแบบเขตท้องถิ่น โดยเฉพาะพระอุโบสถ มีการพัฒนาอาคารที่พักอาศัยแบบ "บังกาโร" (bungalo) ตากอากาศรับรองการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในมณฑลการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 มีอิทธิพลตะวันตก เป็นลักษณะร่วมสมัยกลุ่มอาคารลักษณะต่าง ๆ 4.ภูมิปัญญาพื้นถิ่น : ศิลปหัตถกรรม : การแกะสลักหิน เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม มีเอกลักษณ์ในท้องถิ่น รวมถึงการทอเสื่อและการจักสาน มีต้นแบบจากชนต่างวัฒนธรรมดั้งเดิม ส่วนการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับเป็นแหล่งผลิตสำคัญของประเทศ มีการสืบทอดและพัฒนาไปสู่ระดับสากล กล่าวโดยรวม ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ศิลปกรรมทางจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาพื้นถิ่นทางศิลปหัตถกรรมระยะแรกได้รับอิทธิพลจากชนต่างวัฒนธรรม หลายเชื้อชาติ และพัฒนาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นในระยะต่อมา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/73
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
title.pdf311.93 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter1.pdf294.38 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter2.pdf3.16 MBAdobe PDFดู/เปิด
chapter3.pdf3.08 MBAdobe PDFดู/เปิด
chapter4.pdf975.68 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter5.pdf1.1 MBAdobe PDFดู/เปิด
chapter6.pdf856.11 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter7.pdf1.69 MBAdobe PDFดู/เปิด
bibliography.pdf219.01 kBAdobe PDFดู/เปิด
appendix.pdf10.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น