กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/729
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาศักยภาพ ความเข้มแข็ง ความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการประกอบธุรกิจด้านการท่องเที่ยวหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ด้านที่พักแรมแบบโฮมสเตย์: กรณีศึกษาเกาะช้าง จังหวัดตราด
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วุฒิชาติ สุนทรสมัย
พัชนี นนทศักดิ์
จาตุรนต์ วิริยะธำรง
อรพร สดใส
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: การท่องเที่ยว - - ไทย - - วิจัย
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ - - ไทย - - วิจัย
ไทย - - ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว - - ไทย - - ตราด
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2548
สำนักพิมพ์: คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยการพัฒนาศักยภาพ ความเข็มแข็ง และความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการประกอบธุรกิจด้านการท่องเที่ยวหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ กรณีศึกษาเกาะช้าง จังหวัดตราด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมและวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ ตลอดจนการศึกษาการพัฒนาศักยภาพ ความเข้มแข็งและความยั่งยืนของการจัดการธุรกิจพักแรมท่องเที่ยว หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก และการสังเกตโดยอาศัยแบบบันทึกและแบบสอบถามที่ใช้คำถามปลายเปิดเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยวิธีวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการธุรกิจโอมสเตย์ ผลการศึกษาสรุปว่า ชุมชนเกาะช้าง จังหวัดตราด มีผู้ประกอบการธุรกิจที่พักแบบโฮมสเตย์เพียง 12 ราย ซึ่งมีการดำเนินกิจการแบบเครือญาติ และเป็นพี่น้องกัน รูปแบบการจัดการธุรกิจนั้น ปัจจุบัน (2547) เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวทำธุรกิจที่พักแรมแบบโฮมสเตย์เป็นธุรกิจเสริมเดิมมีอาชีพหลักคือ ทำประมง และทำการเกษตร โดยมีบ้านพักที่สามารถให้บริการนักท่องเที่ยว รวม 20 หลัง และพักได้สูงสุด 20 คนต่อหลังต่อคืน โดยมีการบริการห้องพักร่วมกับการจัดนำเที่ยวแบบเหมาจ่ายโดยรวมทั้งค่ารถรับ-ส่งจากฝั่งถึงเกาะ ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่านำเที่ยวเกาะต่าง ๆ รวมถึงการดำน้ำดูปะการัง ทั้งนี้จุดอ่อนของกิจการ คือ ขาดการโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างจริงจังและขาดเครื่องมือในการสื่อสารการตลาดเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวมี แผ่นปลิว แจกนามบัตร ส่งข้อมูลทางโทรสารหรือโทรศัพท์ไปยังบริษัททัวร์ต่าง ๆ การโฆษณาในหนังสือการประชาสัมพันธ์โดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้หน่วยงานราชการ โดยสำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว และองค์การบริหารส่วนตำบลเข้ามามีบทบาทในการช่วยทำป้ายประชาสัมพันธ์และจัดส่งข้อมูลโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แม้ว่าราคาที่พักระหว่างคนละ 150-500 บาทต่อคนต่อคืน แต่สามารถปรับราคาได้ หากมีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก โดยราคานั้นขึ้นอยู่กับขนาดของห้องพัก อำนาจต่อรองของนักท่องเที่ยว ความสนิทสนมคุ้นเคย และความพึงพอใจของเจ้าของโฮมสเตย์ จุดแข็งคือ ด้านห้องพักที่ให้บริการมีความสะอาดและปลอดภัย และเจ้าของโฮมสเตย์ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้รองรับนักท่องเที่ยว คือ ห้องน้ำ พัดลม ตู้เสื้อผ้า เตียง เครื่องเสียง ทีวี วิทยุ ที่นอนและหมอน โดยสมาชิกในครอบครัวเป็นผู้ดูแลและคอยให้บริการนักท่องเที่ยวอย่างเป็นกันเองตามวิถีชาวบ้าน แม้ว่าสภาพการแข่งขันด้านการบริการโฮมสเตย์ในพื้นที่เกาะช้างไม่มาก แต่ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบโอมสเตย์ขาดทักษะการจัดการเชิงรุกในแง่การรับรู้ถึงการแข่งขันทางธุรกิจ ทั้งด้านการจัดการที่ยังขาดมาตรฐานการบริการด้านการตลาดที่ยังไม่มีการวิเคราะห์ความต้องการของนักท่องเที่ยวแล้วนำมาปรับใช้ในการดำเนินกิจการ และยังขาดกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสม โดยเฉพาะด้านการสื่อสารการตลาดแต่การประกอบกิจการที่พักแรมแบบโฮมสเตย์เกาะช้าง ยังมีจุดเด่นในด้านบุคลากรที่เป็นสมาชิกในครอบครัวให้การต้อนรับที่อบอุ่น มีการไต่ถามทุกข์สุข และแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเป็นกันเองกับนักท่องเที่ยวเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นจุดแข็งของผู้ประกอบการธุรกิจโฮมสเตย์ชุมชนเกาะช้าง คือด้านบุคลากรหรือด้านลูกค้าสัมพันธ์ ในขณะที่จุดอ่อน ได้แก่ ขาดทักษะด้านการตลาด โดยเฉพาะการศึกษาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า (นักท่องเที่ยว) ตลอดจนยังไม่สามารถใช้เทคนิคการบริการลูกค้าที่เหมาะสม และขาดวิธีการสื่อสารการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนขาดมาตรฐานในการกำหนดราคาบริการและไม่มีการบันทึกรายการทางบัญชีและการเงินทีชัดเจนและเป็นระบบ ทำให้ไม่ทราบถึงต้นทุนของบริการ รวมทั้งยังขาดทักษะสื่อสารกับตลาดใหม่ ๆ ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เพิ่มจำนวนและให้ความสนใจในวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและวิถีชุมชนของชุมชนตะพง จังหวัดระยองมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสที่สำคัญของการประกอบธุรกิจ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย คือ การพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ อาทิ สื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษ การบริการที่ประทับใจ การบัญชีและการเงิน และการตลาดแก่ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการท่องเที่ยวหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แบบโฮมสเตย์ของเกาะช้างอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชน เพื่อให้สามารถดึงดูดและสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศจากทรัพยากรที่มีคุณค่าของชมชนอย่างยั่งยืนและเข้มแข็งต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/729
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_142.pdf42.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น