กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/729
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวุฒิชาติ สุนทรสมัยth
dc.contributor.authorพัชนี นนทศักดิ์th
dc.contributor.authorจาตุรนต์ วิริยะธำรงth
dc.contributor.authorอรพร สดใสth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:53:04Z
dc.date.available2019-03-25T08:53:04Z
dc.date.issued2548
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/729
dc.description.abstractงานวิจัยการพัฒนาศักยภาพ ความเข็มแข็ง และความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการประกอบธุรกิจด้านการท่องเที่ยวหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ กรณีศึกษาเกาะช้าง จังหวัดตราด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมและวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ ตลอดจนการศึกษาการพัฒนาศักยภาพ ความเข้มแข็งและความยั่งยืนของการจัดการธุรกิจพักแรมท่องเที่ยว หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก และการสังเกตโดยอาศัยแบบบันทึกและแบบสอบถามที่ใช้คำถามปลายเปิดเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยวิธีวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการธุรกิจโอมสเตย์ ผลการศึกษาสรุปว่า ชุมชนเกาะช้าง จังหวัดตราด มีผู้ประกอบการธุรกิจที่พักแบบโฮมสเตย์เพียง 12 ราย ซึ่งมีการดำเนินกิจการแบบเครือญาติ และเป็นพี่น้องกัน รูปแบบการจัดการธุรกิจนั้น ปัจจุบัน (2547) เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวทำธุรกิจที่พักแรมแบบโฮมสเตย์เป็นธุรกิจเสริมเดิมมีอาชีพหลักคือ ทำประมง และทำการเกษตร โดยมีบ้านพักที่สามารถให้บริการนักท่องเที่ยว รวม 20 หลัง และพักได้สูงสุด 20 คนต่อหลังต่อคืน โดยมีการบริการห้องพักร่วมกับการจัดนำเที่ยวแบบเหมาจ่ายโดยรวมทั้งค่ารถรับ-ส่งจากฝั่งถึงเกาะ ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่านำเที่ยวเกาะต่าง ๆ รวมถึงการดำน้ำดูปะการัง ทั้งนี้จุดอ่อนของกิจการ คือ ขาดการโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างจริงจังและขาดเครื่องมือในการสื่อสารการตลาดเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวมี แผ่นปลิว แจกนามบัตร ส่งข้อมูลทางโทรสารหรือโทรศัพท์ไปยังบริษัททัวร์ต่าง ๆ การโฆษณาในหนังสือการประชาสัมพันธ์โดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้หน่วยงานราชการ โดยสำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว และองค์การบริหารส่วนตำบลเข้ามามีบทบาทในการช่วยทำป้ายประชาสัมพันธ์และจัดส่งข้อมูลโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แม้ว่าราคาที่พักระหว่างคนละ 150-500 บาทต่อคนต่อคืน แต่สามารถปรับราคาได้ หากมีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก โดยราคานั้นขึ้นอยู่กับขนาดของห้องพัก อำนาจต่อรองของนักท่องเที่ยว ความสนิทสนมคุ้นเคย และความพึงพอใจของเจ้าของโฮมสเตย์ จุดแข็งคือ ด้านห้องพักที่ให้บริการมีความสะอาดและปลอดภัย และเจ้าของโฮมสเตย์ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้รองรับนักท่องเที่ยว คือ ห้องน้ำ พัดลม ตู้เสื้อผ้า เตียง เครื่องเสียง ทีวี วิทยุ ที่นอนและหมอน โดยสมาชิกในครอบครัวเป็นผู้ดูแลและคอยให้บริการนักท่องเที่ยวอย่างเป็นกันเองตามวิถีชาวบ้าน แม้ว่าสภาพการแข่งขันด้านการบริการโฮมสเตย์ในพื้นที่เกาะช้างไม่มาก แต่ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบโอมสเตย์ขาดทักษะการจัดการเชิงรุกในแง่การรับรู้ถึงการแข่งขันทางธุรกิจ ทั้งด้านการจัดการที่ยังขาดมาตรฐานการบริการด้านการตลาดที่ยังไม่มีการวิเคราะห์ความต้องการของนักท่องเที่ยวแล้วนำมาปรับใช้ในการดำเนินกิจการ และยังขาดกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสม โดยเฉพาะด้านการสื่อสารการตลาดแต่การประกอบกิจการที่พักแรมแบบโฮมสเตย์เกาะช้าง ยังมีจุดเด่นในด้านบุคลากรที่เป็นสมาชิกในครอบครัวให้การต้อนรับที่อบอุ่น มีการไต่ถามทุกข์สุข และแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเป็นกันเองกับนักท่องเที่ยวเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นจุดแข็งของผู้ประกอบการธุรกิจโฮมสเตย์ชุมชนเกาะช้าง คือด้านบุคลากรหรือด้านลูกค้าสัมพันธ์ ในขณะที่จุดอ่อน ได้แก่ ขาดทักษะด้านการตลาด โดยเฉพาะการศึกษาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า (นักท่องเที่ยว) ตลอดจนยังไม่สามารถใช้เทคนิคการบริการลูกค้าที่เหมาะสม และขาดวิธีการสื่อสารการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนขาดมาตรฐานในการกำหนดราคาบริการและไม่มีการบันทึกรายการทางบัญชีและการเงินทีชัดเจนและเป็นระบบ ทำให้ไม่ทราบถึงต้นทุนของบริการ รวมทั้งยังขาดทักษะสื่อสารกับตลาดใหม่ ๆ ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เพิ่มจำนวนและให้ความสนใจในวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและวิถีชุมชนของชุมชนตะพง จังหวัดระยองมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสที่สำคัญของการประกอบธุรกิจ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย คือ การพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ อาทิ สื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษ การบริการที่ประทับใจ การบัญชีและการเงิน และการตลาดแก่ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการท่องเที่ยวหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แบบโฮมสเตย์ของเกาะช้างอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชน เพื่อให้สามารถดึงดูดและสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศจากทรัพยากรที่มีคุณค่าของชมชนอย่างยั่งยืนและเข้มแข็งต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipทุนอุดหนุนการวิจัยโดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2548en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการท่องเที่ยว - - ไทย - - วิจัยth_TH
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ - - ไทย - - วิจัยth_TH
dc.subjectไทย - - ภูมิประเทศและการท่องเที่ยวth_TH
dc.subjectอุตสาหกรรมท่องเที่ยว - - ไทย - - ตราดth_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.titleการพัฒนาศักยภาพ ความเข้มแข็ง ความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการประกอบธุรกิจด้านการท่องเที่ยวหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ด้านที่พักแรมแบบโฮมสเตย์: กรณีศึกษาเกาะช้าง จังหวัดตราดth_TH
dc.typeResearch
dc.year2548
dc.description.abstractalternativeThis study is concerned with the sustainable development of homestay business as a viable means to promote Thai ecological tourism. In this regard, the study is conducted to, firstly, gain better understanding of the current state of management of homestay business and its business environments at Koh Chang, trad province, through Strength-weakness-Opportunity-Threat (SWOT) analysis. Secondly, the study intends to look into a working model for the development of homestay business as to increase its potentiality, strength and sustaining management. The study is a qualitative research with in-depth interview and observation. The tools for data gathering include an open-ended questionnaire and an observation record sheet. The content analysis techniques are employed to analyze interview data. The researchfindings conclude that in Koh Chang, there are only twelve homestay businesses. In fact, the owners of these facilities are siblings or from family circles. The major careers are the fishermen and agriculture farmers. However, the homestay business seems to be their secondary source of income. They owns one to two lodging facilities which can serve maximum of twenty visitors per night. The homestay services include a variety of package tours including snorkeling, scuba diving if it is the high season. One of the weaknesses of the operation is the lack of advertising and public relations and other marketing tools to draw ,ore visitors.Only information leaflets and billboards are available from Koh Chang’s Local Government Authority and the regional tourist authority of Thailand. The standard service charge for lodging is approximately between 150-500 baths per night, though it might be subject to chande due to various factors, i.e., the number of visitors, the room size, the customers’ relationship with the owner, or the owner, or the owner’s satisfaction in the the deal. The strength of the homestay facilities is the cleanliness and security. The facilities typically include a bed with pillows, an electrical fan, VCD and DVD player, radio, television, closet, and a bathroom. The operator’ s family members will serve as lodging staff to take care of the visitors trying to make them feel at home. Management experience and competence and the use of “common sense” mediated the service qualityof homestay businesses. The homestay owners had also received very little training in order to help them make appropriate decisions for improving and developing the quality of service. Since the lack of competition in homestay business in this area, the operators tend to lacking proactive management as to the perception of competitive environment. Coupled with lack of service standards, lack of customer needs analysis so as to adjust the operation. Neither there are proper marketing strategies, especially no market communication. There were no systematic financial records of any sort to monitor the operation costs, either. However, the homestay business at Koh Chang has some good points such as service staff who are the operators’ family members that could give visitiors warm welcome and recommend the local attractions, treating the visitors like their own family. The increasing number of visitors that interested in community’s culture and ways of life seems to be one great opportunity for the homestay business. Consequently, this study would recommend some improvements as for the continuous development and transfer of knowledge, through community learning, in several aspects including English communication skills, impressive service delivery, accounting and finance, and markwting. With all these few adjustments, it is hoped that the community would draw and impress more and more Thai and foreign visitors with the invaluable resources of the community.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_142.pdf42.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น