กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7293
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐเพื่อความมั่นคงทางสุขภาพของประชาชน : ศึกษากรณีเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of government hospitl helth service system for people’s helth security :b cse study of Chonburi provincil helth service network |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์ ธานี ขามชัย มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล -- ไทย -- ชลบุรี โรงพยาบาล -- บริการส่งเสริมสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ -- ไทย -- ชลบุรี บริการทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชายุทธศาสตร์และความมั่นคง |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐเพื่อความมั่นคงทางสุขภาพของประชาชน: ศึกษากรณีเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดชลบุรีมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบบริการสุขภาพประชาชนของ โรงพยาบาลรัฐ ศึกษาปัญหาและข้อจํากัดในการดําเนินงานด้านระบบบริการสุขภาพประชาชนของโรงพยาบาลรัฐและ เสนอแนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐที่ตอบสนองต่อความมั่นคงทางสุขภาพของประชาชน ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ คือ ผู้บริหารของสํานักตรวจราชการ สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและสํานักงานสาธารณสุข จังหวัดชลบุรีผู้อํานวยการ รองผู้อํานวยการและตัวแทนของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน ทั้ง 12 แห่ง ในเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดชลบุรี รวมทั้งหมดจํานวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสัมภาษณ์ ทั้งที่เป็นแบบไม่มีโครงสร่างและแบบมีโครงสร่างวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อหาข้อสรุปตามวัตถุประสงค์การวิจัย 1. ระบบบริการสุขภาพประชาชนของโรงพยาบาลรัฐเป็นการบริการทางการแพทย์ที่มีกระบวนการสําคัญ 4 มิติ ได้แก่ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ด้านการป้องกันโรค ด้านการรักษาและด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ มุ่งเน้นการปฏิบัติงานเชิงรุกแบบมีส่วนร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างไม่เป็นอุปสรรค และครอบคลุมทุกกลุ่มวัย 2. ปัญหาและข้อจํากัดในการดําเนินงานด้านระบบบริการสุขภาพประชาชนของโรงพยาบาลรัฐในเครือข่าย บริการสุขภาพจังหวัดชลบุรี ได้แก่ การให้การศึกษาและฝึกอบรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพอย่างครอบคลุมทุกกลุ่มวัย การทํางานเป็นทีมด้านการป้องกันโรคร่วมกับทุกภาคส่วน การติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อการส่งต่อด้านการรักษา และเครื่องมือหรือเครื่องจักรด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพไม่เพียงพอสําหรับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน 3. แนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐที่ตอบสนองต่อความมั่นคงทางสุขภาพของประชาชน ได้แก่ การกําหนดแนวทางการให้การศึกษาและฝึกอบรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพสําหรับทุกกลุ่มวัยแนวทางการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อการส่งต่อด้านการรักษาและแนวทางการจัดการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องที่บ้าน การจัดทํากลยุทธ์ด้านการป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อเชิงรุกโดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน นอกจากนี้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรีควรเสนอให้กระทรวงสาธารณสุขเพิ่มการ สนับสนุนเงินทุน แยกค่าบริการสุขภาพและเงินเดือนข้าราชการและปรับปรุงสิทธิสุขภาพให้เป็นแบบร่วมจ่าย ผู้นําหรือผู้บริหารระดับสูงของโรงพยาบาลรัฐในเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดชลบุรีเป็นผู้ที่มีบทบาทสําคัญเกี่ยวกับการทํางานเป็นทีมร่วมกับคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอําเภอ การติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และการจัดทํากลยุทธ์ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7293 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.86 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น