กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7292
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorอนุรัตน์ อนันทนาธร
dc.contributor.authorสวรรค์นิมิต เตชาวงศ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:43:00Z
dc.date.available2023-05-12T03:43:00Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7292
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายและมาตรการ กฎหมาย นโยบายและ มาตรการ ในการจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย และเพื่อศึกษาการดําเนินการ ปัญหา ข้อจํากัด และเสนอแนวทางในการพัฒนาการจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ไทย รูปแบบการศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)โดยการได้มาของผู้ให้ข้อมูลสําคัญ คือ 1.การวิจัยเอกสาร และ 2. การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลที่สําคัญ ได้แก่ สํานักจัดหางานจังหวัดชลบุรี, เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง, บุคลากรสาธารณะ สุขจังหวัดชลบุรี, เจ้าหน้าที่ตํารวจสถานีตํารวจภูธรจังหวัดชลบุรี, ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี, นักวิชาการด้านแรงงาน, ผู้ประกอบการในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี, ลูกจ้างแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือภาคอุตสาหกรรม ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรีของประเทศไทย จํานวน 14 ราย การวิเคราะห์ ข้อมูล จะนําข้อมูลที่ได้จาก การสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสาร วิธีการวิเคราะห์คือพรรณนาข้อมูลและวิเคราะห์ตีความข้อมูลเพื่อ สร้างข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางที่เหมาะสมสําหรับการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ ผลการวิจัยพบว่าหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายและมาตรการในการจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยนั้น มีสํานักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานดําเนินการเป็นหลัก โดยปฏิบัติงานร่วมกับกระทรวงต่าง ๆ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานส่วนภูมิภาคที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายและมาตรการในการจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ ที่สําคัญคือ สํานักงานหางาน จังหวัดศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One stop service) ที่ว่าการอําเภอ กองทัพแต่ละภาค โรงพยาบาล สถานี ตํารวจภูธร และกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง กฎหมายที่ใช้ในการจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย พบว่ามีกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องหลักอยู่ 6 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าวฉบับปี พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. 2533 และพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 นโยบายและมาตรการในการจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยตลอด 20 ปีที่ผ่านมามีมาตรการที่สําคัญ ได้แก่ 1. มาตรการในจําแนกประเภทแรงงานข้ามชาติจากพม่า กัมพูชา และลาว 2.การจัดตั้ง คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (กบร.) และ 3.การจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ แนวทางในการพัฒนาการจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย มีดังนี้ 1. ด้านความมั่นคงควรมีการเสริมอัตรากําลังเจ้าหน้าที่ และงบประมาณให้เหมาะสมกับงานด้านความมั่นคง การปรับปรุงกฎหมายให้มีความชัดเจนและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง รวมถึงการเพิ่มบทลงโทษให้มีความรุนแรงมากขึ้น 2.ด้านเศรษฐกิจ ควรมีการแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมในการใช้แรงงาน อาทิ ค่าจ้าง ชั่วโมงการทํางาน การลาหยุด ฯลฯ ลดการใช้แรงงานต่างด้าวในภาคธุรกิจ ปรับปรุงระเบียบการปฏิบัติให้สะดวกต่อการจ้างแรงงานต่างด้าว และพิจารณาปรับลด ค่าดําเนินการในการขึ้นทะเบียนหรือต่ออนุญาตในกลุ่มธุรกิจที่มีความขาดแคลนแรงงาน 3. ด้านสังคม/ สาธารณสุข ควรกําหนดให้นายจ้างควรเป็นผู้ให้การช่วยเหลือลูกจ้างแรงงานต่างด้าว ทุกกรณี อาทิ การ จัดหาที่อยู่อาศัย สถานพยาบาล รวมถึงสาธารณูปโภคให้ความสําคัญกับปัญหาเรื่องโรคติดต่อของแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทํางานในประเทศ และรัฐบาลควรมีการฝึกอบรมเกี่ยวกับภาษา และวัฒนธรรมไทยให้แก่แรงงานต่างด้าวก่อนเข้าทํางาน โดยให้นายจ้าง หรือ แรงงานต่างด้าวเป็นผู้รับภาระค่าฝึกอบรมแล้วแต่สัญญาจ้าง 4. ด้านสิทธิมนุษยชนรัฐบาลควรปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ ของแรงงานต่างด้าวให้ชัดเจนมากขึ้น ให้แรงงานต่างด้าวสามารถเข้าถึงสวัสดิการภาครัฐได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาล สถานศึกษา สาธารณูปโภค ฯลฯเพิ่มบทลงโทษในฐาน ความทําผิดเกี่ยวกับเรื่องค้ามนุษย์ และควรมีการคุ้มครองผู้เสียหายและพยานที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการค้ามนุษย์
dc.language.isoth
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectแรงงานต่างด้าว -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
dc.subjectแรงงานต่างด้าว
dc.subjectกฎหมายแรงงาน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชายุทธศาสตร์และความมั่นคง
dc.titleการจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย
dc.title.alternativeSecurity mngement of unskilled foreign workers in industril sector of Thilnd
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study and analyze people involved in policies and measures, laws, policies and measures. Security management of unskilled foreign workers in industrial sector of Thailand. Study the implementation of constraints and propose ways to improve the management of unskilled migrant workers in the industrial sector of Thailand. Qualitative research methods are used to obtain the most important information. 1. research papers and 2. 14 sample in-depth interviews from Chonburi employment agency, Chonburi government officials, Chonburi public health officials, Chonburi provincial police officers, President of Chonburi industry council, labor technocrat, Chonburi business owners, migrant workers. These are the major unites involve in unskilled migrant workers management in Chonburi industry. We used interview information analyzing with research papers and descriptions to make conclusions for unskilled migrant workers. The results showed that the agencies involved in policies and measures to manage unskilled migrant workers in the industrial sector of Thailand were Bureau of Migrant Workers Administration, Department of Employment, Ministry of Labor was the key unit and worked with many ministries such as the Ministry of the Interior, Ministry of Defense, Ministry of Public Health and the provincial agencies involved in the policy and measures to manage unskilled migrant workers. In additions, one Stop Service Center of registered provincial employment, district office, armed forces, hospitals, provincial police stations And Immigration Division There were 6 laws used to manage migrant workers in the industrial sector of Thailand. Immigration Act, 1979, Migrant Work Act 2008, Anti-Trafficking in Persons Act 2008 The Labor Protection Act, B.E. 2541, the Social Security Act, B.E. 2533 and the Compensation Act, B.E. 2537. Key policies and measures for managing unskilled migrant workers in Thailand over the past 20 years include: 1. measures to classify migrants from Burma, Cambodia and Laos; 2. establishment of escaping migrants management committees 3. establishment of migrant workers and human trafficking solving committees. The guidelines for developing unskilled migrant workers in Thailand industry are as follows: 1. For Security aspect: it should be increase manpower and budgets. Improve, more clarify and enforce law and penalties seriously. 2. Economic aspect: It should solve the problem of unfairness in labor such as wages, working hours, taking leave, etc. Reduce the number of migrant workers in the business sector. Improve the process of migrant workers employment. Consider to reducing the registration or renew fee in deficient business. 3. Social/ Public Health aspect: Employers should be encouraged to assist migrant workers, such as the provision of shelter, sanitation facilities and utilities, give more attention on contagious diseases of migrant workers. The government should teach Thai language and Thai culture courses to migrant workers before working in Thailand. The employers or migrant workers should be absorb the training fee. 4. Human rights aspect: The government should improve and clarify the regulations on the migrant workers’ rights. Migrant workers could be able to access public welfares e.g. hospitals, schools, a public facilities. In additions, increase penalties for trafficking offenses. We should protect victims and witnesses affected by human trafficking.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineยุทธศาสตร์และความมั่นคง
dc.degree.nameรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น