กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7286
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดโทษทางอาญา : ศึกษากรณีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legl problem in determintion of criminl punishment :bcse study of libility cused from use of cheque ct B.E. 2534 (1991)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประลอง ศิริภูล
พิมพิกา สุทธิมรรคผล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: คดีอาญา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534
เช็ค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้โทษทางอาญาในคดีเช็ค โดยศึกษากรณีความเหมาะสมของการบังคับใช้โทษทางอาญาที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534จากการศึกษาพบว่าการที่กฎหมายกําหนดให้บุคคลรับโทษทางอาญาในกรณีมีการกระทําความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือทางเศรษฐกิจว่าจะมีการใช้เงินตามเช็คนั้นจริง อย่างไรก็ตามการกําหนดโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นหลายประการ เช่น ปัญหาความไม่สอดคล้องกับทฤษฎีการลงโทษทางอาญา และขัดกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ โดยที่โทษทางอาญาสําหรับความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นการกําหนดโทษจําคุกระยะสั้นไม่สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ในการลงโทษได้ ทั้งเป็นการกําหนดกระทําที่เป็นความผิดอาญามากเกินความจําเป็น อันนําไปสู่ปัญหาคดีอาญาเฟ้อ ส่งผลให้สภาพบังคับของกฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ มีคดีค้างในศาลจํานวนมาก ทําให้รัฐเสียค่าใช้จ่ายในกระบวนการยุติธรรมโดยไม่จําเป็น จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะให้มีการยกเลิกโทษทางอาญาที่เกิดจากความรับผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค ไม่ว่าจะเป็นโทษปรับหรือโทษจําคุก โดยกําหนดให้มีมาตรการเสริมอื่นแทนการบังคับ ใช้โทษทางอาญากับคดีความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเช่น การนํามาตรการด้านเครดิตบูโรหรือติดแบล็คลิสต์ (Blacklist) มาใช้กับกรณีธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คเพราะผู้ออกเช็คมีเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค หรือในขณะที่ออกเช็คไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะนั้น หรือ ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่ บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจํานวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้ รวมทั้งควรกําหนดให้มีหน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลการดําเนินการเกี่ยวกับการใช้เช็คโดยให้อยู่ภายใต้การ ควบคุมดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากนี้อาจมีการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ชําระหนี้ด้วยวิธีอื่น แทนชําระหนี้ด้วยเช็ค เนื่องจากปัจจุบันเราอยู่ในยุคดิจิตอลการระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีปัจจัยสําคัญต่อการดําเนินชีวิตมากขึ้น การตรวจสอบและควบคุมทําได้ง่ายจึงเห็นควรให้ทําธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับเช็คสอดคล้องกับหลักกฎหมายและทฤษฎีทางอาญา ลดคดีความทางอาญาที่ไม่จําเป็นขึ้นสู่ศาลได้เป็นจํานวนมาก อันจะทําให้การบังคับใช้กฎหมายอาญาและ กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (น.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7286
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น