กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7277
ชื่อเรื่อง: | พฤติกรรมความรุนแรงของเยาวชนในพื้นที่ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Youth’s violence behvior in re of Snsuk municiplity t Mung cityin Chonburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุพจน์ บุญวิเศษ ลลิตา สามารถ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความรุนแรงในวัยรุ่น ความรุนแรง เยาวชนกับความรุนแรง มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม เยาวชน -- พฤติกรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมความรุนแรงของเยาวชนในพื้นที่ตําบลแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมความรุนแรงของเยาวชนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความรุนแรงของเยาวชนในพื้นที่ตําบลแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดที่ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นและความตรงเชิงเนื้อหา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเฉพาะเยาวชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตําบลแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ที่มีอายุระหว่าง 14 – 18 ปี จํานวน 380 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และการทดสอบสมมุติฐาน ด้วยสถิติไคสแควร (Chi-square test) ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 72.1 มีอายุ 18 ปี ร้อยละ 41.3 มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 29.5 และมีสถานภาพครอบครัวที่มีทั้งพ่อ และแม่ ร้อยละ 63.9 ส่วนผลการวิเคราะห์ปัจจัยทางสังคม พบว่า ด้านอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนมีคะแนนเฉลี่ยในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.34 ด้านอิทธิพลจากสื่อ มีคะแนนเฉลี่ย ในระดับน้อย ที่ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.45 และด้านอิทธิพลจากสิ่งเสพติด มีคะแนนเฉลี่ย ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.69 ส่วนพฤติกรรมความรุนแรง จะพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีพฤติกรรมความรุนแรงทางกาย และทางใจ ในระดับน้อย ที่ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.25 และ 2.33 ตามลําดับ ผลการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 1 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพ ครอบครัวและระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความรุนแรงของเยาวชนทั้งทางกายและใจอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 2 พบว่า อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน อิทธิพลจากสื่อ และอิทธิพลจากสิ่งเสพติดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความรุนแรงของเยาวชนทั้งทางกายและใจ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (ร.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7277 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 881.65 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น