กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7277
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุพจน์ บุญวิเศษ
dc.contributor.authorลลิตา สามารถ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:39:15Z
dc.date.available2023-05-12T03:39:15Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7277
dc.descriptionงานนิพนธ์ (ร.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมความรุนแรงของเยาวชนในพื้นที่ตําบลแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมความรุนแรงของเยาวชนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความรุนแรงของเยาวชนในพื้นที่ตําบลแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดที่ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นและความตรงเชิงเนื้อหา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเฉพาะเยาวชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตําบลแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ที่มีอายุระหว่าง 14 – 18 ปี จํานวน 380 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และการทดสอบสมมุติฐาน ด้วยสถิติไคสแควร (Chi-square test) ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 72.1 มีอายุ 18 ปี ร้อยละ 41.3 มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 29.5 และมีสถานภาพครอบครัวที่มีทั้งพ่อ และแม่ ร้อยละ 63.9 ส่วนผลการวิเคราะห์ปัจจัยทางสังคม พบว่า ด้านอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนมีคะแนนเฉลี่ยในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.34 ด้านอิทธิพลจากสื่อ มีคะแนนเฉลี่ย ในระดับน้อย ที่ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.45 และด้านอิทธิพลจากสิ่งเสพติด มีคะแนนเฉลี่ย ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.69 ส่วนพฤติกรรมความรุนแรง จะพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีพฤติกรรมความรุนแรงทางกาย และทางใจ ในระดับน้อย ที่ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.25 และ 2.33 ตามลําดับ ผลการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 1 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพ ครอบครัวและระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความรุนแรงของเยาวชนทั้งทางกายและใจอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 2 พบว่า อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน อิทธิพลจากสื่อ และอิทธิพลจากสิ่งเสพติดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความรุนแรงของเยาวชนทั้งทางกายและใจ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
dc.language.isoth
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความรุนแรงในวัยรุ่น
dc.subjectความรุนแรง
dc.subjectเยาวชนกับความรุนแรง
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม
dc.subjectเยาวชน -- พฤติกรรม
dc.titleพฤติกรรมความรุนแรงของเยาวชนในพื้นที่ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternativeYouth’s violence behvior in re of Snsuk municiplity t Mung cityin Chonburi province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study of “Youth’s Violence Behavior in Area of Sansuk Municipalit at Muang City in Chonburi Province” were to study the youth in governed by Sansuk Municipality at Muang City in Chonburi Province. Closed-end questionnaires were used to justify accuracy and content precision among 14-18 year-old youths who have been lived in Sansuk Municipality, Muang City, Chonburi Province of 380 persons. Statistics for this research were frequency, percentage, Means, Standard Deviation and Chi-Square Test. Results of this study, we found that most of subjects were females at 72.1%, 18 years old at 41.3%, Grade 12- education level at 29.5%. And family status consisted of parents at 63.9%. In order to analysis of social factors, we found that factors influenced by friends at high average score at 3.34. For factors Influenced by medias were low average scores at 2.45 and influenced by drugs were high average scores at 3.69. For violence behavior, we found that informants had both physical and psychological behavior in low average score at 2.25 and 2.33, respectively. Results of assumption no. 1, we found that personal factor; gender, age, family status and educational level, there were related to either those youth’s violence behaviors in physical or psychological as significantly statistical levels at 0.05. Results of assumption no. 2, we found that factors influenced by friends, medias and drugs, all of these had related to either physical or psychological as significantly statistical levels at 0.05.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารงานยุติธรรมและสังคม
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf881.65 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น