กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7271
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Prticiptionofpublic in protect nd solving drug problemsin Amphoe Muengnn, Nn province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เอกวิทย์ มณีธร
จุฬาลักษณ์ น้ำรัด
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: ยาเสพติด -- การป้องกันและควบคุม -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม
ยาเสพติด -- การป้องกันและควบคุม -- ไทย -- น่าน
ยาเสพติด -- การควบคุมคุณภาพ -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ปัญหายาเสพติดเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงต่อความมั่นคงของประเทศชาติ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ปัญหายาเสพติดทําให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณของชาติจํานวนมหาศาลในการปราบปรามและบําบัดรักษา ยิ่งไปกว่านั้น ปัจจุบันนี้ยาเสพติดได้แพร่ระบาดเข้าไปสู่ประชาชนมากขึ้น การกําหนดแนวทางการป้องกันจากภัยยาเสพติดจึงมีความสําคัญ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ศึกษาสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มประชาชน 2. วิเคราะห์นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านยาเสพติดของประเทศไทย 3. ปรับปรุงการกําหนดนโยบายและเสนอแนะแนวทางการป้องกันปัญหายาเสพติด โดยกําหนดขอบเขตการวิจัยเฉพาะมิติของการป้องกันในรูปแบบของครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และวัด โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยของไทยและต่างประเทศ ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันเริ่มใช้ยาเสพติดมากขึ้น ปัจจัยความสําเร็จในการดําเนินงานป้องกันได้แก่ สัมพันธภาพภายในครอบครัว การมีตัวแบบที่ดี การมีส่วนร่วมในการดําเนินกิจกรรมของโรงเรียน การดําเนินชีวิตด้วยสติตามแนวพุทธศาสนา ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน การมีพื้นที่เพื่อทํากิจกรรมเชิงบวก การได้รับการสนับสนุนและกําลังใจจากชุมชน และชุมชนให้ความสําคัญและมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติด ผลการวิจัยนํามาสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 4 ข้อ ดังนี้ 1. รัฐควรกระตุ้นให้ภาคสังคมรับรู้และมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดมากขึ้น 2. ให้มีองค์การทางสังคมทําหน้าที่ด้านการป้องกันปัญหายาเสพติดแบบบูรณาการกับภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. การป้องกันควรมุ่งไปที่ช่วงก่อนการเริ่มเสพ และ 4. ควรมีการพัฒนาตัวบุคคลควบคู่กับสถาบัน สังคมหลัก ได้แก่ครอบครัว
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ร.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7271
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf963.04 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น