กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7269
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความต้องการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ กรณีศึกษาเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The socil welfre needs of elderly :b cse study of Sensuk municiplity, Meung district, Chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพจน์ บุญวิเศษ
ณัฐสินี บุญอิ่ม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: เทศบาลเมือง -- บริการสังคม
ผู้สูงอายุ -- การสงเคราะห์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม
เทศบาลเมืองแสนสุข
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความต้องการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และเพื่อเปรียบเทียบความต้องการสวัสดิการสังคม ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลกลุ่มตัวอย่างที่ ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรีจํานวน 380 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ประมวลผลด้วยโปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ในการทดสอบสมมติฐานใช้การทดสอบค่าที (t-Test) และใช้ค่าสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทาง เดียว (One-way - ANOVA) โดยกําหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 57.89 โดยมีอายุระหว่าง 60-65 ปี คิดเป็นร้อยละ 48.16 มีอาชีพค้าขายหรือมีกิจการส่วนตัวและแหล่งรายได้ปัจจุบันจากการค้าขาย/ กิจการส่วนตัวคิดเป็นร้อยละ 40 มีจํานวนเงินที่ได้รับจากแหล่งรายได้ต่อเดือน จํานวนมากกว่า 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 58.16 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีจํานวนสมาชิกในครอบครัวระหว่าง 4-6 คน คิดเป็นร้อยละ 70.26 และมีสิทธิในบ้านพักอาศัยเป็นของตนเอง คิดเป็นร้อยละ 91.32 2. สําหรับความต้องการสวัสดิการสังคม พบว่า ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรีที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความต้องการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ประเด็น ได้แก่ ด้านสุขภาพอนามัยและด้านรายได้ ตามลําดับ และพบว่า อยู่ในระดับมาก 4 ด้านเรียงลําดับจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านความมั่นคงทางสังคม ด้านที่อยู่อาศัย ด้านบริการทางสังคม และด้านนันทนาการ ตามลําดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข ที่มีเพศ อายุ รายได้ต่อเดือน จํานวนสมาชิกในครอบครัว และการมีสิทธิในบ้านพักอาศัยต่างกัน มีความต้องการสวัสดิการ สังคมผู้สูงอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่มีการประกอบอาชีพต่างกัน และมีแหล่งรายได้ปัจจุบันต่างกัน มีความต้องการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุไม่แตกต่างกัน
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ร.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7269
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น