กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7229
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภารดี อนันต์นาวี | |
dc.contributor.advisor | เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม | |
dc.contributor.author | พณพร รัตนประสบ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:39:01Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:39:01Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7229 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา ปัจจัยด้านการบริหารของผู้บริหาร และปัจจัยด้านบุคลากร จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับประสิทธิผลของ สถานศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี และสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนจังหวัดปราจีนบุรี สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำนวน 260 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของสถานศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .26-.75 ค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามเท่ากับ .85 และแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ สถานศึกษา ด้านการบริหารของผู้บริหารมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .28-.81 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .91 และด้านการบริหารของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนก รายข้อ อยู่ระหว่าง .29-.75 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .82 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) และการวิเคราะห์สมการถดถอย พหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลของสถานศึกษา ปัจจัยด้านการบริหารของผู้บริหาร และด้านบุคลากร จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยด้านการบริหารของผู้บริหารและปัจจัยด้านบุคลากร โดยรวมและรายด้าน สัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของสถานศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ปัจจัยด้านการบริหารของผู้บริหาร และด้านบุคลากรส่งผลต่อประสิทธิผลของ สถานศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. การกำหนดวิสัยทัศน์ (X112) การพัฒนาครู (X22) การกระตุ้นการใช้ปัญญา (X113) และงบประมาณ (X121) สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 (Y) มีค่าอำนาจพยากรณ์ คิดเป็นร้อยละ 47.80 โดยสามารถเขียนเป็นสมการเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ดังนี้ = 1.11 + .191(X112) + .209(X22) + .172(X113) + .140 (X121) หรือในรูปคะแนน มาตรฐาน = .247(Z112) + .282(Z22) + .230(Z113) + .168(Z121) | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | โรงเรียน -- การบริหาร | |
dc.subject | โรงเรียน -- การจัดการ | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | |
dc.title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 | |
dc.title.alternative | FACTORS ffecting schools effectiveness in prchinburi province under the secondry eductionl service re office 7 | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this were to study; schools effectiveness, administration factors, and personnel factors in Prachinburi province under the secondary educational service area office 7, investigate the correlation of personnel factors and schools effectiveness in Prachinburi province under the secondary educational service area office 7, factors affecting schools effectiveness and created a predictive equation on schools effectiveness in Prachinburi province. The sample consisted of 260 teachers in Prachinburi province under the secondary educational service area office 7. The instruments used for the data collecting were a checklist and five level rating scale questionnaire, divided into 2 parts; part one the factors affecting the schools effectiveness in Prachinburi, the coefficient of item discrimination ranged from .26-.75 and the reliability was .85, and part two questionnaire was on administration factors with coefficient of item discrimination ranged from .28-.81 and the reliability was .91, while personnel factors had the coefficient of item discrimination ranged from .29-.75 and the reliability was .82. The data were analyzed by using the computer program. The statistics utilized in analyzing the data were arithmetic mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient, multiple regression analysis and stepwise multiple regression analysis. The findings of the research were as follows: 1. The school seffectiveness, administration and personnel factors in Prachinburi province under the secondary educational service area office 7 in overall and each aspects were rated at a high level. 2. The administration and personnel factors had positive relationship statistically significant at .01 level with the school seffectiveness a medium level. 3. The administration and personnel factors affecting school seffectiveness in Prachinburi province under the secondary educational service area office 7 statistically significant at .01 level. 4. The vision identification (X112), teacher development (X22), intellectual Stimulation (X113) and budget (X121) were the best predictors of the effectiveness of schools in Prachinburi province under the secondary educational service area office 7 (Y) with 47.80 percent that could be written in the form of raw score equation as: = 1.11 + .191(X112) + .209 (X22) + .172(X113) + .140(X121) and in the standard equation as. = .247(Z112) + .282(Z22) + .230(Z113) + .168(Z121) | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารการศึกษา | |
dc.degree.name | การศึกษามหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น