กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/719
ชื่อเรื่อง: | ความมุ่งมั่นในการผลิตผลงานวิชาการของอาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Intentions to achieve academic works of the Faculty of Nursing Instructors, Burapha University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุนทราวดี เธียรพิเชฐ สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์ กมลทิพย์ ด่านชัย สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ผลงานทางวิชาการ สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2543 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยสถาบันมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อศึกษาความมุ่งมั่นในการผลิตผลงานวิชาการอันประกอบด้วย การผลิตเอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน หนังสือ บทความ ตำรา งานวิจัย และ การสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ต่างๆของอาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในปีการศึกษา 2542 ตลอดจนความสัมพันธ์ของเจนคติต่อการผลิตผลงานวิชาการ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และความสามารถควบคุมการผลิต กับ ความมุ่งมั่นในการผลิตผลงานวิชาการ เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามกับอาจารย์ที่ปฎิบัติงานอยู่ในปีการศึกษา 2542 จำนวน 37 คน จากทั้งหมด 50 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามเองแล้วส่งกลับ แบบวัดตัวแปรหลักทั้ง 4 แบบ มีความเที่ยงอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างมาก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยมีดังนี้ อาจารย์ส่วนใหญ่มีเจนคติที่ดีมาก และ ดี ต่อการผลิตผลงานวิชาการคิดเป็นร้อยละ 54.1 และร้อยละ 45.9 ตามลำดับ ส่วนใหญ่มีการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการผลิตผลงานวิชาการในระดับมาก และมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 73.0 และร้อยละ 24.3 ตามลำดับ การรับรู้ความสามารถควบคุมการผลิตผลงานวิชาการอยู่ในระดับมาก และ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 75.0 และ 15.9 ตามลำดับ อาจารย์มีความมุ่งมั่นในการผลิตผลงานวิชาการในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่มีความมุ่งมั่นในการผลิตผลงานวิชาการประเภทเอกสารประกอบการสอน บทความวิชาการ และ งานวิจัยในระดับมาก มุ่งมั่นผลิตเอกสารคำสอน และ ตำราในระดับปานกลาง แต่ความมุ่งมั่นผลิตหนังสือ และการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์อยู่ในระดับน้อย การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (SN) มีความสัมพันธ์และสามารถทำนายความมุ่งมั่นในการผลิตเอกสารประกอบการสอน (Int1) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าอำนาจในการทำนายร้อยละ 19.4 (R กำลัง 2 = .194, R = .440, p = .007) โดยมีสมการในการทำนายดังนี้ Int1' = 0.028 SN' สมการมาตรฐาน Int' = 0.440 SN ความสามารถควบคุมการผลิตผลงานวิชาการ (PBC) มีความสัมพันธ์และสามารถทำนายความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษญ์ (Int7) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าอำนาจในการทำนายร้อยละ 12.7 (R กำลัง 2 = .127, R = .356,p = .033) โดยมีสมการในการทำนายดังนี้ Int7 = 1.292 PBC' สมการมาตรฐาน Int7' = 0.256 PBC The surver research was study the intention to achieve academic works of nursing instructors consisted of teaching materials, hand bbok(unpublish book), article,text book, research, and creative tools in academic year 1999. The research also tried to find the relation between the attitude toward academic work, subjective norm and perceived behavioral control.The samples were the instructors of the Faculty of Nursing, Burapha University working during academic year 1999. (N = 37 from the total of 50 instrutors). The data collection was self administered questionnaire. The reliability of four main instruments were middle to high level. Tha data was analyzed by descriptive satistics and stepwise mulitple regression. The results were found that the attitude of the instructors were at very high and high level toward achieved academic works 54.1% and 45.9%, the instructors mainly were complied with the subjective norm (referent group) at high and very high level 73.0% and 24.3%, for perceived behavioral control were at high and very high level 75.0% and 15.9%, in overall the instructors intended to develop their academic works at high level but intended to develop the teaching materials. articles and researches at the high level, intended to develop book for teaching and text book at the middle level but the intention to develop book and creative teaching tools were at the low level. The subjective norm (SN) were correlate and able to predict the intention to develop teaching materials (Int1) were statistically significant at the level of 0.5, the perceived power were 19.4% (R กำลัง2 = .194, R = .440, P = .007) the equation of prediction were as below: Int1' = 0.028 SN' standardized equation Int' = 0.440 SN The perceived behavioral control(PBC) were correlate and able to predict the intention of creative teaching tools (Int7) statistically significant at the level of 0.5 the perceived power were 12.7 (R กำลังสอง = .127,R = 0.33) the equation of prediction were as follows: Int7 = 1.292 PBC' standardized equation Int7' = 0.256 PBC |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/719 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_259.pdf | 2.39 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น