กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7140
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorปริญญา ทองสอน
dc.contributor.advisorวิมลรัตน์ จตุรานนท์
dc.contributor.authorวรนุช สายทอง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:33:32Z
dc.date.available2023-05-12T03:33:32Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7140
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 และเพื่อศึกษาผลของการใช้หลักสูตร ประชากรเป้าหมายคือครูและนักเรียนโรงเรียนลัมแบรต์พิชญาลัย อำเภอ นายายอาม จังหวัดจันทบุรี จำนวนครู 44 คน จำนวนนักเรียน 669 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 24 คน โดยฝึกอบรมครู ก่อนเปิด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 และนักเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3) จำนวน 27 คน ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6) จำนวน 33 คน และช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) จำนวน 34 คน โดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) ฝึกอบรมครู 27 ชั่วโมง ติดตามผล หลังการฝึกอบรม 32 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หลักสูตรฝึกอบรมครูที่ได้พัฒนาขึ้นมา 2) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของครูในการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) แบบติดตามและประเมินผลความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยพี่เลี้ยง สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test for dependent sample ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 และเอกสารประกอบหลักสูตร มีผลการประเมินคุณภาพ IOC อยู่ระหว่าง 0.8-1.00 2. ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การติดตามและประเมินผลความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยพี่เลี้ยง ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับดี 4. นักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังการจัดการเรียนรู้ ของครูสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectครู -- กิจกรรมการเรียนการสอน
dc.subjectการเรียนรู้แบบพินิจพิเคราะห์
dc.subjectครู -- การฝึกอบรมในงาน
dc.subjectวิทยานิพนธ์?aปริญญาเอก
dc.subjectครู -- การฝึกอบรม -- หลักสูตร
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
dc.titleการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
dc.title.alternativeThe development of techer trining–curriculum for promoting nlyticl thinking of bsic eduction students of privte school under Chnthburi Primry Eductionl Service Are Office 1
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis objectives of this research were to develop the training-curriculum for teachers which could promote the analytical thinking of students in a private school under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 1 and to study its effectiveness. The target population were 44 teachers and 669 students of Lambertpitchayalai school, Amphoe Na Yai Am, Chanthaburi Province. The samples were 24 trained teachers who taught student from grade 1-9 in the second semester of the 2016 Academic Year. This group of teachers was trained before beginning of the first semester of the 2017 Academic Year. The students samples were 27 students of grade 1-3, 33 students in grade 4-6 and 34 students in grade 7-9 in the first semester of the 2017 Academic Year. They were selected by cluster random sampling. The experiment period was 27 hours in the second semester of the 2016 Academic Year and the follow up evaluation period was conducted 32 hours after the training in the first semester of the 2017 Academic Year. The research instruments were 1) a developed training-curriculum, 2) a test to measure the knowledge of analytical thinking process instruction for teachers, 3) a test to measure the skill of analytical thinking for students, and 4) a questionnaire to evaluate the skill of analytical thinking process instruction by mentors. The statistics used in this research were Mean, Standard deviation, and dependent t-test. The research findings were as follow: 1) The components of the training-curriculum for teachers which could promote the analytical thinking of students of a private school under Chanthaburi primary educational service area office 1 and curriculum documents, the experts’ evaluation by assessing the congruency of the structure of the training-curriculum and the curriculum documents were consistent in all items with the IOC between 0.8-1.00. 2) After using the training-curriculum, the teachers gained higher knowledge than the previous period. This study reported the significant level of .05. 3) The evaluation of skill in analytical thinking process instruction was reported at a good level. 4) The students’ skill of analytical thinking was higher than the previous period and this study reported the process of instruction performed by the teachers at the significant level of .05.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอน
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น