กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7102
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมุทร ชำนาญ
dc.contributor.advisorสฎายุ ธีระวณิชตระกูล
dc.contributor.authorธงชัย รู้ข่าว
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:33:23Z
dc.date.available2023-05-12T03:33:23Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7102
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร สังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยผู้บังคับบัญชา ปัจจัยลักษณะของงาน และปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน 3) สร้างสมการพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงาน และ 4) ศึกษาปรากฏการณ์เชิงตัวแปรที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 200 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power และวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน และแบบสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณและปรากฏการณ์เชิงตัวแปรที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน ผลการศึกษา พบว่า 1. คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมาก ไปน้อย ได้แก่ ด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านการบูรณาการทางสังคม ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงาน และ ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและเป็นธรรม ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การเผชิญอุปสรรคต่าง ๆ ความพร้อมของเทคโนโลยี วัสดุอุปกรณ์ การบริหารจัดการองค์กร การมีอิสระในการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร โอกาสในการรับรู้ผลการทำงาน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ภาวะผู้นำ และประสบการณ์การทำงาน ตามลำดับ 3. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร ได้แก่ ความพร้อมของเทคโนโลยีวัสดุอุปกรณ์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ โอกาสในการรับรู้ผลการทำงาน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา การบริหารจัดการองค์กร การเผชิญอุปสรรคต่าง ๆ และประสบการณ์การทำงาน สามารถพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร ได้ร้อยละ 60.60 มีสมการถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ ZY = .205Z_(X_4 ) + .243Z_(X_8 ) + .254Z_(X_9 ) + .211Z_(X_6 ) + .254Z_(X_1 ) - .172Z_(X_2 ) + .095Z_(X_3 ) 4. จากการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน ของบุคลากรมีผลการวิจัยที่สอดคล้องกัน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectคุณภาพชีวิตการทำงาน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักงานอธิการบดี
dc.subjectพนักงานมหาวิทยาลัย -- ความพอใจในการทำงาน
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร สังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.title.alternativeThe fctors ffecting to qulity of work life of stff under the president office, Burph University
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to 1) study the quality of work life that affects the staff under the president office at Burapha University, 2) study the factors those influence the quality of work life, 3) create multiple regression equation of the quality of work life, and 4) study the predictability of the variables in predicting the quality of work life. The samples were 200 staff under the president office, Burapha University. The sample size was determined with G*Power program and stratified random sampling technique was used for sample selection. The tools used in the research were the questionnaire on the factors affecting the quality of work life, the interview for the variables in predicting the quality of work life. Statistics for data analysis include frequency, percentage, mean, standard deviation, multiple regression analysis with stepwise method, and confirmation of both quantitative and qualitative data analysis results. The study results were that: 1. The staff’s quality of work life was rated at moderate level, rankings from high to low mean values were; safe and healthy working condition, social integration, work and life space, progress and stability of work and adequate and fair compensation, respectively. 2. Factors affecting quality of the staff’s quality of work life was rated at high level, rankings from high to low mean values were; motivation for achievement, adversity quotient, availability of technology and equipment, organizational management, working autonomy, organizational culture, opportunity to recognize work performance, relationship with supervisors, leadership and work experience, respectively. 3. The significant factors affecting the quality of work life were availability of technology and equipment, motivation for achievement, opportunity to recognize work performance, relationship with supervisors, organizational management, adversity quotient, work experience, respectively. The predictor variables could predict the quality of work life correctly at 60.60%. The equation of the standard score is ZY = .205Zx4 + .243 Zx8 + .254 Zx9 + .211 Zx6 + .254 Zx1 - .172 Zx2 + .095 Zx3 4. Factors affecting quality of work life of staff under the president office, Burapha University, both quantitative and qualitative studies were consistent.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น