กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7071
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุเมธ งามกนก | |
dc.contributor.author | สุพัตรา นพสาย | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:29:45Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:29:45Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7071 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2560 จำแนกตามขนาดโรงเรียน จำนวน 317 คน จากการกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-608) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .27-.90 มีค่าความเชื่อมั่น .95 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารวิชาการด้านการบริหารทั่วไป ด้านการบริหารงานบุคคลและด้านการบริหารงบประมาณ 2. การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามเพศ พบว่า ครูผู้สอนที่มีเพศต่างกันจะมีส่วนร่วม ในการบริหารงานโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษาพบว่า ครูที่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี มีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนมากกว่าครูที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยรวม และรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียนโดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร -- ไทย -- ระยอง | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | |
dc.subject | ครูประถมศึกษา | |
dc.subject | บุคลากรทางการศึกษา | |
dc.title | การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 | |
dc.title.alternative | The prticiption of techers in school dministrtion under the Ryong primry eductionl service re office 1 | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to study and compare the participation of teachers in school administration under the Rayong Primary Educational Service Area Office 1. The research participants were 317 teachers who teach in schools under the Rayong Primary Educational Service Area Office 1 during the 2017 academic year. The sample size was determined based on the table of Krejcie and Morgan (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-608). The research instrument was 5 point rating scale questionnairs. The item discrimination power was between .2 -.90 and the reliability was .95. The research data was analyzed by Means, Standard Deviation, the dependent t-test, One-way ANOVA and Scheffe’s Method. The results of the study revealed as follows: 1. The participation of teachers in school administration under the Rayong Primary Educational Service Area Office 1 as a whole were at a high level. There were 4 aspects which were sorted from high to low academic aspect, general management, personnel management and budgets. 2. The study showed no statistically significant difference among teachers with different gender. 3. This study found that teachers having higher degree than Bachelor Participate in school administration activities than those having Bachelor degree education background. 4. This study reported that difference size of school determined the level of teachers’ partication in school administration at the significant level of .05. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารการศึกษา | |
dc.degree.name | การศึกษามหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 918.4 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น