กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7043
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
dc.contributor.advisorภารดี อนันต์นาวี
dc.contributor.authorปาริชาติ เวเบอร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:29:38Z
dc.date.available2023-05-12T03:29:38Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7043
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยการบริหารเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผล การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออก เพื่อสร้างโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นและตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของโมเดลดังกล่าวในการนำไปใช้ในการปฏิบัติ โดยผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ ครูวิชาการโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก จำนวน 720 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ส่วนการพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลใช้โปรแกรม LISREL และตรวจสอบความเป็นไปได้ของโมเดล ในการนำไปใช้ในการปฏิบัติด้วยการอภิปรายกลุ่มสนทนาแบบเจาะจงโดยผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออก ประกอบด้วย ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ความผูกพันต่อองค์การของครู ความเป็นองค์การ แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุด คือ ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออก คือ ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและความผูกพันต่อองค์การของครู โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 43 โดยที่ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ความเป็นองค์การแห่ง การเรียนรู้ของสถานศึกษา และการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู ส่งผลทางอ้อมผ่าน ความความผูกพันต่อองค์การของครูไปยังผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออก และโมเดลปัจจัยการบริหารเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกมีความกลมกลืนสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ในระดับดี โดยมีค่า 2 = 880.65 df = 552, ค่า 2/ df = 1.59, GFI = 0.93, AGFI = 0.91, RMSEA = 0.031, NFI = .98, NNFI = 0.99, CFI = 0.99 และผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่าโมเดลมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการศึกษาขั้นพื้นฐาน
dc.subjectการศึกษา -- การทดสอบ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.titleโมเดลปัจจัยการบริหารเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออก
dc.title.alternativeA cusl dministrtive fctors model influencing students’ ntionl primry eductionl test score under the primry eductionl service re office in the estern region
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to determine causal administrative factors, to construct and validate a causal administration factors model influencing students’ national educational test score of schools under the primary educational service area office in the eastern region and to validate the possibility to use a causal administration factors model by using focus group discussion. The sample consisted of 720 teachers working in primary schools under the primary educational service area office in the eastern region, selected by through stratified random sampling. The research instrument was a set of five rating scale questionnaires. Data were with basic analysis descriptive statistic and LISREL for developing the causal relationship model and focus group discussion by experts to validate the possibility to use the model. The results indicated that the causal administrative factors model influencing students’ national educational score composed of, Instructional leadership of school administrators, administrative behavior of school administrators, teachers’ commitment, being a learning organization of school and the teachers’ learner-centered instructions. The variable most influencing students’ national educational score was instructional leadership of school administrators. Instructional leadership of school administrators and teachers’ commitment, they directly affected students’ national educational test score. They could predict students’ national educational test score by 43 percent. Where as instructional leadership of school administrators, administrative behavior of school administrators, schools’ learning organization and the teachers’ learner-centered instruction have indirectly affected students’ national educational test score through teachers’ commitment. A causal administrative factors model influencing students’ national educational test score was obtained with its congruity with reliable and accepted empirical data at a good level. Goodness of fit measures was found to be: 2 = 880.65 df = 552, ค่า 2/ df = 1.59, GFI = 0.93, AGFI = 0.91, RMSEA = 0.031, NFI = .98, NNFI = 0.99, CFI = 0.99 Lastly the experts concluded that a causal administrative factors model is possible to be implemented.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf8.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น