กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7033
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems nd obstcles of techer prticiption in school dministrtion of Privte Voctionl Colleges in Chonburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุเมธ งามกนก
ประยูร อิ่มสวาสดิ์
เฉิน, หยางซู
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
Chen Yangxu
คำสำคัญ: โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน -- การบริหาร
ครูอาชีวศึกษา -- การทำงานเป็นทีม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
วิทยาลัยการอาชีพ -- การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี ทำการศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนชลบุรี ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน และครูสังกัดวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จำนวน 24 คน โดยเลือกแบบเจาะจงจากครูประจำชั้น ชั้นละ 1 คน การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) การสรุปแบบอุปนัย (Inductive analysis) ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี สรุปเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1. ด้านการจัดการและการพัฒนาหลักสูตร พบว่า จุดประสงค์ของหลักสูตรไม่มีการ ระบุชัดเจน ทำให้ครูผู้สอนยังไม่เข้าใจวิธีการและกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนได้ การพัฒนาหลักสูตรยังเป็นรูปแบบเดิม ๆ ซึ่งไม่สามารถตอบสนอง ความต้องการของผู้เรียนในปัจจุบันได้ 2. ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน พบว่า ยังไม่มีความพร้อมมากนัก มีความจำเป็นต้องเพิ่มอุปกรณ์การเรียนการสอนอื่น ๆ ซึ่งสถานศึกษามักไม่เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นและรับฟังข้อเสนอแนะจากครูผู้สอน ทำให้ครูผู้สอนไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นอีกในครั้งต่อ ๆ ไป 3. ด้านการวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนหน่วยกิต พบว่า สถานศึกษาไม่ได้วางเกณฑ์กำหนดให้ชัดเจน ส่วนใหญ่ครูประเมินผลและใช้เกณฑ์การวัดของตนเอง ทำให้การวัดผลและประเมิลผลแต่ละวิชาไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ชึ่งก็เป็นปัญหาที่ยังแก้ไขไม่ได้ 4. ด้านการผลิตสื่อนวัตกรรม พบว่าเนื่องจากการขาดแคลนอุปกรณ์และสื่อมัลติมีเดียที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ทำให้ครูบางคนไม่ได้ใช้สื่อตามต้องการได้ อันส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการสอนของครูและประสิทธิภาพการเรียนของนักเรียน นอกจากนี้ครูและนักเรียนยังขาดทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้และการทำงาน 5. ด้านการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ พบว่า ไม่มีการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาพัฒนาและใช้อบรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับนักเรียน ขาดสมดุลการใช้ทรัพยากรภายใน เพื่อพัฒนา ขาดการสอบถามความคิดเห็นจากครูและนักเรียนในการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ 6. ด้านงานนิเทศภายใน การติดตามตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษา พบว่าไม่มีการตรวจสอบการเข้าสอนของครูอย่างสม่ำเสมอ ผู้สอนบางคนไม่ตรงต่อเวลา ไม่มีระเบียบวินัย ครูบางคนไม่สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ ทำให้ผลการเรียนขาดประสิทธิภาพ 7. ด้านการส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนให้พัฒนาตามศักยภาพ พบว่า ครูผู้สอน ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมเรื่องแนวคิดการจัดการชั้นเรียน จึงไม่สามารถช่วยเหลือนักเรียนใน การพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ และมองไม่เห็นความสำคัญในการกระตุ้นศักยภาพของนักเรียน 8. ด้านการวิจัยเพื่อการเรียนการสอน พบว่า ครูผู้สอนยังขาดแนวทางและทฤษฎี ในการทำวิจัย จึงไม่สามารถทำการศึกษาค้นคว้าได้อย่างอิสระและทรัพยากรที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่ จะเอื้ออำนวยให้ครูสามารถทำงานวิจัยได้ทุกภาคการศึกษา 9. ด้านงานศูนย์ผลิตเอกสารทางวิชาการ พบว่า อุปกรณ์และทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอและไม่เคยได้รับการพิจารณาจากฝ่ายบริหารอย่างจริงจัง 10. ด้านการงานบริการทางวิชาการแก่หน่วยงานภายนอก พบว่า ครูบางคนมีส่วนร่วมมากในการแลกเปลี่ยนและทำกิจกรรม ส่วนบางคนไม่มีโอกาสได้เข้าร่วมเลย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7033
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น