กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7033
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุเมธ งามกนก | |
dc.contributor.advisor | ประยูร อิ่มสวาสดิ์ | |
dc.contributor.author | เฉิน, หยางซู | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.contributor.other | Chen Yangxu | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:29:35Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:29:35Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7033 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี ทำการศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนชลบุรี ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน และครูสังกัดวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จำนวน 24 คน โดยเลือกแบบเจาะจงจากครูประจำชั้น ชั้นละ 1 คน การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) การสรุปแบบอุปนัย (Inductive analysis) ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี สรุปเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1. ด้านการจัดการและการพัฒนาหลักสูตร พบว่า จุดประสงค์ของหลักสูตรไม่มีการ ระบุชัดเจน ทำให้ครูผู้สอนยังไม่เข้าใจวิธีการและกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนได้ การพัฒนาหลักสูตรยังเป็นรูปแบบเดิม ๆ ซึ่งไม่สามารถตอบสนอง ความต้องการของผู้เรียนในปัจจุบันได้ 2. ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน พบว่า ยังไม่มีความพร้อมมากนัก มีความจำเป็นต้องเพิ่มอุปกรณ์การเรียนการสอนอื่น ๆ ซึ่งสถานศึกษามักไม่เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นและรับฟังข้อเสนอแนะจากครูผู้สอน ทำให้ครูผู้สอนไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นอีกในครั้งต่อ ๆ ไป 3. ด้านการวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนหน่วยกิต พบว่า สถานศึกษาไม่ได้วางเกณฑ์กำหนดให้ชัดเจน ส่วนใหญ่ครูประเมินผลและใช้เกณฑ์การวัดของตนเอง ทำให้การวัดผลและประเมิลผลแต่ละวิชาไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ชึ่งก็เป็นปัญหาที่ยังแก้ไขไม่ได้ 4. ด้านการผลิตสื่อนวัตกรรม พบว่าเนื่องจากการขาดแคลนอุปกรณ์และสื่อมัลติมีเดียที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ทำให้ครูบางคนไม่ได้ใช้สื่อตามต้องการได้ อันส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการสอนของครูและประสิทธิภาพการเรียนของนักเรียน นอกจากนี้ครูและนักเรียนยังขาดทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้และการทำงาน 5. ด้านการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ พบว่า ไม่มีการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาพัฒนาและใช้อบรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับนักเรียน ขาดสมดุลการใช้ทรัพยากรภายใน เพื่อพัฒนา ขาดการสอบถามความคิดเห็นจากครูและนักเรียนในการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ 6. ด้านงานนิเทศภายใน การติดตามตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษา พบว่าไม่มีการตรวจสอบการเข้าสอนของครูอย่างสม่ำเสมอ ผู้สอนบางคนไม่ตรงต่อเวลา ไม่มีระเบียบวินัย ครูบางคนไม่สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ ทำให้ผลการเรียนขาดประสิทธิภาพ 7. ด้านการส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนให้พัฒนาตามศักยภาพ พบว่า ครูผู้สอน ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมเรื่องแนวคิดการจัดการชั้นเรียน จึงไม่สามารถช่วยเหลือนักเรียนใน การพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ และมองไม่เห็นความสำคัญในการกระตุ้นศักยภาพของนักเรียน 8. ด้านการวิจัยเพื่อการเรียนการสอน พบว่า ครูผู้สอนยังขาดแนวทางและทฤษฎี ในการทำวิจัย จึงไม่สามารถทำการศึกษาค้นคว้าได้อย่างอิสระและทรัพยากรที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่ จะเอื้ออำนวยให้ครูสามารถทำงานวิจัยได้ทุกภาคการศึกษา 9. ด้านงานศูนย์ผลิตเอกสารทางวิชาการ พบว่า อุปกรณ์และทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอและไม่เคยได้รับการพิจารณาจากฝ่ายบริหารอย่างจริงจัง 10. ด้านการงานบริการทางวิชาการแก่หน่วยงานภายนอก พบว่า ครูบางคนมีส่วนร่วมมากในการแลกเปลี่ยนและทำกิจกรรม ส่วนบางคนไม่มีโอกาสได้เข้าร่วมเลย | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน -- การบริหาร | |
dc.subject | ครูอาชีวศึกษา -- การทำงานเป็นทีม | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | |
dc.subject | วิทยาลัยการอาชีพ -- การบริหาร | |
dc.title | ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี | |
dc.title.alternative | Problems nd obstcles of techer prticiption in school dministrtion of Privte Voctionl Colleges in Chonburi Province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to investigate problems and obstacles of teacher participation in school administration of private vocational colleges in Chonburi Province. Qualitative research method was employed in this study through document analysis and structured interview. Key informants were the directors of private vocational colleges in Chonburi Province, 1 school administrator, and 24 teachers of private vocational colleges, derived by purposive random sampling method from class teachers, with 1 teacher from each class. Data were analyzed by means of content analysis and inductive analysis. The findings revealed that problems and obstacles arising in teacher participation concerning school administration in private vocational colleges in Chonburi Province could be summarized as in the following aspects. 1. The aspect of curriulum development and management: the objectives of the curriculum were not stated clearly enough for the teachers to understand how to use appropriate teaching methods or instructional process to achieve the learning objectives as required; curriculum development still relied on conventional patterns which could not serve the current needs of the learners. 2. The aspect of instructional process development: readiness was not still to its full extent; there was necessity for an increase of instructional equipment; colleges themselves did not place importance on the problems arising or on teachers' suggestions; repeatedly without responses from the adminstrative staff caused many teachers dare not to express their opinions. 3. The aspect of assessement, evaluation and credit transfer: there were no clear criteria for implementation; most teachers used their own judgement so the results of the evalution of each subject were not in accordance with what the actual ones should be; the problems still could not be solved. 4. The aspect of production of innovative media: with lack of equipment and inadequate multimedia, some teachers could not use them in their class teaching resulting in inefficicient of instructional process for both teachers and learners; both teachers and learners lack positive attitude for learning and working. 5. The aspect of learning resources development: lack of utilization of available learning resources for training on application of science and technology for the learners; lack of balance in bringing internal resouces into use for development; lack of inquiry from teachers and learners for opinions concerning utilization of available resources. 6. The aspect of internal supervision, and quality monitoring and audit: lack of regular checking for teachers to perform class teaching; unpunctuality, indiscipline and inability to control and manage the class of some teachers resulting in inefficienct learning outcomes. 7. The aspect of encouragement and promotion of learner capacity development: teachers who did not have training on concepts of classroom management were unable to help learners to develop themselves to their own capacity; teachers did not place importance on capacity stimulation. 8. The aspect of instructional research: lack of research guidelines and theory caused teachers’ inability to conduct their own independent study; inadequacy of resources was also the cause of impossibility for teachers to conduct research for every semester. 9. The aspect of center of production for academic materials: inadequacy of equipment and resources was the main problem in this aspect; problems were always overlooked and not taken into consideration. 10. The aspect of academic service to external units: some teachers had much more opprtunities to participate in exchanging and doing activites; while other did. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารการศึกษา | |
dc.degree.name | การศึกษามหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น