กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7017
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการทำงานตามทัศนคติของครูอำเภอองครักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Reltionship between conflict mngement of school dministrtion nd works efficiency by techer ttitude in Ongkrk district under office of Nkornyok primry eduction re
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุเมธ งามกนก
นัฏฐิกา นิลสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ครู -- ทัศนคติ
การบริหารความขัดแย้ง -- ไทย -- นครนายก
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
ผู้บริหารโรงเรียน (ประถมศึกษา) -- การบริหาร -- ไทย -- นครนายก
โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร -- ไทย -- นครนายก
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการความขัดแย้ง ศึกษาระดับประสิทธิภาพการทำงาน และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการความขัดแย้งกับประสิทธิภาพการทำงานของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนคติของครู อำเภอองครักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอองครักษ์ สังกัดสำนักงาน เขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก จำนวน 162 คน โดยเทียบจำนวนประชากรกับกลุ่มตัวอย่าง ตามตารางการกำหนดขนาดของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, p. 607) เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .25-.70 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) ผลการวิจัย พบว่า 1. การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอองครักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมาก ไปหาน้อย ตามลำดับ ดังนี้ ด้านการประนีประนอม ด้านการเอาชนะ และด้านการร่วมมือ 2. ประสิทธิภาพการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอองครักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก เมื่อพิจารณาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ย จากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาภายในโรงเรียน และด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาโรงเรียน 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการทำงาน ตามทัศนคติของครูอำเภอองครักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ในด้านต่าง ๆ พบว่า มีความสัมพันธ์กันปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7017
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf968.8 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น