กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6952
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุรัตน์ ไชยชมภู
dc.contributor.authorหนูนิต ซื่อสัตย์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:25:14Z
dc.date.available2023-05-12T03:25:14Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6952
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเมืองพัทยา 5 (บ้านเนินพัทธยาเหนือ) จังหวัดชลบุรี และเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ จำแนกตาม วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนเมืองพัทยา 5 จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 71 ข้อ และแนวทาง การพัฒนาการบริหารงานวิชาการเป็นแบบสอบถามให้เลือกตอบ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .42-.82 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t-test) ส่วนแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ใช้ความถี่ ร้อยละและอันดับที่ ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเมืองพัทยา 5 (บ้านเนินพัทธยาเหนือ) จังหวัดชลบุรี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเมืองพัทยา 5 (บ้านเนินพัทธยาเหนือ) จังหวัดชลบุรี จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และด้านการนิเทศการศึกษา มีปัญหาการบริหารงานวิชาการแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบโดยจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเมืองพัทยา 5 (บ้านเนินพัทธยาเหนือ) เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) สำรวจความต้องการสื่อ วัสดุ อุปกรณ์การเรียนการสอน สำหรับนักเรียนและจัดหาจัดซื้อตามความต้องการ 2) มีการศึกษาดูงานโรงเรียนที่พัฒนาและส่งเสริมให้มี แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา 3) จัดอบรมเทคนิคการวิจัยให้กับผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครูทุกคน 4) จัดอบรม เชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แก่ครูในโรงเรียนตามสาระการเรียนรู้ 5) ครูทุกกลุ่มสาระ การเรียนรู้ร่วมกันวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือวัดผลและ ประเมินผลให้ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้ 6) จัดให้มีการระดมความคิดเห็นและพัฒนาปรับปรุงการนิเทศ ภายในสถานศึกษา และ 7) จัดอบรมครูในโรงเรียนเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งส่งเสริมให้ คณะครูมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการบริหารการศึกษา
dc.subjectโรงเรียนประชาบาล -- การบริหาร
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.titleปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเมืองพัทยา 5 (บ้านเนินพัทธยาเหนือ) จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternativeProblems nd developmemt guidelines for cdemic dministrtion of Ptty City 5 School in Chonburi Province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to investigate and to compare problems of academic administration of Pattaya City 5 School in Chonburi Province as well as to suggest development guidelines, as classified by school teachers' educational qualifications and work experience. The sample of the study consisted of 56 teachers teaching at Pattaya City 5 School. A 71-item, 5-level rating scale questionnaire together with multiple-choice questions on development guidelines for academic administration with the discrimination power between .42-.82, and with the reliability at .98 was an instrument for data collection. Mean, Standard Deviation, and t-test were statistical devices employed for the data analysis; while frequency, and ranking were used for questions on development guidelines. The findings revealed as follows: 1. The existing problems of academic administration of Pattaya City 5 School in Chonburi Province, both as a whole and in each particular aspect, were found at a medium level. 2. On the comparison of academic administration of Pattaya City 5 School in Chonburi Province, classified by educational qualifications, both as a whole and in each particular aspect, no statistically significant differences were found, except in the aspects of learning resources development, and educational supervision, in which significant differences were found at the statistical level of .05. Also, when being classified by work experience, both as a whole and in each particular aspect, no statistically significant differences were found. 3. Development guidelines for academic administration of Pattaya City 5 School in Chonburi Province, ranked from more to less average mean scores were: 1) Needs survey for students' instructional media for the purpose of purchasing or providing according to required needs; 2) Study visits at schools having their own inside learning resources development; 3) Training on research methodologies for school administrators and all teachers; 4) Workshops on writing learning management plans for teachers in each subject strand; 5) Cooperation among teachers in all subject strands to analyze the learning objectives for the purpose of constructing instruments for complete and fully-covered measurement and evaluation; 6) Brainstorming for development and improvement of internal educational supervision; and 7) Teacher training on basic education curriculum and encouragement of teachers' participation in curriculum development and in curriculum implementation.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameกศ.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น