กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6945
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษาโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A model of self-honesty behviorl development in primry school students using prticiptory ction reserch |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สฎายุ ธีระวณิชตระกูล ชัยพจน์ รักงาม อัจฉริยา สุรวรเชษฐ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การศึกษาขั้นก่อนประถม นักเรียนประถมศึกษา -- การดำเนินชีวิต มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ความซื่อสัตย์ การทุจริต (การศึกษา) |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเอง 2) เพื่อเปรียบเทียบ พฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษาก่อนและหลังการใช้รูปแบบ 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา ระหว่างโรงเรียน ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 60 คน การสร้างรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมความซื่อสัตย์ ต่อตนเองใช้วิธีการประชุมระดมพลังสมอง สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม วิเคราะห์เนื้อหา และใช้แบบวัด สถานการณ์ โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม หลังจากได้รูปแบบแล้วได้นำไปทดลองกับนักเรียน ในระดับชั้นเดียวกัน ทั้งจากโรงเรียนเดิมและต่างโรงเรียนที่มีบริบทใกล้เคียงกันในละแวกนั้น สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบ t-test แบบ dependent และ t-test แบบ independent ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 6 ขั้น คือ 1) สร้างความเข้าใจ 2) สร้างกฎเกณฑ์ความรับผิดชอบ 3) เอาใจใส่ดูแลพฤติกรรม 4) สร้างความตระหนักในคุณค่า 5) สร้างตัวแบบที่ดี 6) เชื่อมโยงกับความเป็นจริงในอนาคต 2. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ พบว่า พฤติกรรมของนักเรียนหลังการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนา สูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p < .01) 3. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา ระหว่างโรงเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าพฤติกรรมของนักเรียนโรงเรียนในกลุ่มทดลอง สูงกว่าโรงเรียนในกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p < .01) |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6945 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 9.75 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น