กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6927
ชื่อเรื่อง: | แบบจำลองการประมาณค่าเชิงพื้นที่ของการสุ่มแบบกริด : กรณีศึกษาของการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2548 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Sptil interpoltion model of grid smpling: cse study of o-net in 2005 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นฤมล อินทรวิเชียร สมศักดิ์ ลิลา พงศ์พัฒน์ อิศรกุล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | วิธีการสุ่มแบบกริดเป็นวิธีการสุ่มตัวอย่างที่แพร่หลายสำหรับงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ กายภาพ ในกรณีที่ประชากรมีจำนวนมากและอาศัยในพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบว่าวิธีการสุ่มแบบกริดมีความเหมาะสมกับงานวิจัยทางพฤติกรรมและสังคมศาสตร์หรือไม่ อย่างไร โดยมีขั้นตอนการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การทดสอบวิธีการสุ่มแบบกริด โดยอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น โดยการเปรียบเทียบกับวิธีการสุ่มแบบอื่น ๆ จากผลการทดลองพบว่า เมื่อใช้วิธีการสุ่มแบบกริดกับแบบจำลอง S0 และ S00 ซึ่งมีค่าสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่เป็นศูนย์ ทำให้ค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อน และค่าความแตกต่างความแปรปรวนมีค่ามาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการสุ่มตัวอย่างแบบกริดไม่เหมาะสมกับประชากรที่มีสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่เป็นศูนย์ ในส่วนแบบจำลอง S1-S4 ซึ่งเป็นแบบจำลองที่มีสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ทางบวก เมื่อนำมาทดสอบกับวิธีการสุ่มต่าง ๆ ได้ผลการทดลอง คือ วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ วิธีการสุ่มแบบมีระบบ และวิธีการสุ่มแบบกริด เป็นวิธีการที่มีความแม่นยำสูง แต่วิธีการสุ่มอย่างง่ายและวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มมีความแม่นยำต่ำในทุกแบบจำลอง นอกจากนั้นในการทดสอบความแม่นยำ การประมาณค่าเชิงพื้นที่ของวิธีการสุ่มแบบกริดด้วยแบบจำลอง SI1- SI3 พบว่า เมื่อสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ มีค่าเป็นบวกจะสามารถทำการประมาณค่าเชิงพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและแผนที่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นมีความน่าเชื่อถือและสามารถนำไปใช้งานได้ ขั้นตอนที่ 2 การทดสอบโดยอาศัยฐานข้อมูลคะแนน O-NET เพื่อตรวจสอบความแม่นยำ ในการประมาณค่าของวิธีการสุ่มแบบกริด วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และวิธีการสุ่มแบบกริด-ชั้นภูมิ จากผลการทดลอง พบว่า วิธีการสุ่มแบบกริดมีความแม่ยำต่ำที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 3.18 คะแนน วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนมีความแม่นยำเป็นอันดับ 2 โดยมีค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 2.52 คะแนน และวิธีการสุ่มแบบกริด-ชั้นภูมิมีความแม่นยำมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ย ความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 2.05 คะแนน นอกจากนี้แผนที่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกริด หรือแบบกริด-ชั้นภูมิ ได้ให้สารสนเทศทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ซึ่งแตกต่างจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนที่ให้สารสนเทศเฉพาะระดับประเทศเท่านั้น |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6927 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 9.01 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น