กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6927
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorนฤมล อินทรวิเชียร
dc.contributor.advisorสมศักดิ์ ลิลา
dc.contributor.authorพงศ์พัฒน์ อิศรกุล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:25:06Z
dc.date.available2023-05-12T03:25:06Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6927
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractวิธีการสุ่มแบบกริดเป็นวิธีการสุ่มตัวอย่างที่แพร่หลายสำหรับงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ กายภาพ ในกรณีที่ประชากรมีจำนวนมากและอาศัยในพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบว่าวิธีการสุ่มแบบกริดมีความเหมาะสมกับงานวิจัยทางพฤติกรรมและสังคมศาสตร์หรือไม่ อย่างไร โดยมีขั้นตอนการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การทดสอบวิธีการสุ่มแบบกริด โดยอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น โดยการเปรียบเทียบกับวิธีการสุ่มแบบอื่น ๆ จากผลการทดลองพบว่า เมื่อใช้วิธีการสุ่มแบบกริดกับแบบจำลอง S0 และ S00 ซึ่งมีค่าสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่เป็นศูนย์ ทำให้ค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อน และค่าความแตกต่างความแปรปรวนมีค่ามาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการสุ่มตัวอย่างแบบกริดไม่เหมาะสมกับประชากรที่มีสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่เป็นศูนย์ ในส่วนแบบจำลอง S1-S4 ซึ่งเป็นแบบจำลองที่มีสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ทางบวก เมื่อนำมาทดสอบกับวิธีการสุ่มต่าง ๆ ได้ผลการทดลอง คือ วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ วิธีการสุ่มแบบมีระบบ และวิธีการสุ่มแบบกริด เป็นวิธีการที่มีความแม่นยำสูง แต่วิธีการสุ่มอย่างง่ายและวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มมีความแม่นยำต่ำในทุกแบบจำลอง นอกจากนั้นในการทดสอบความแม่นยำ การประมาณค่าเชิงพื้นที่ของวิธีการสุ่มแบบกริดด้วยแบบจำลอง SI1- SI3 พบว่า เมื่อสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ มีค่าเป็นบวกจะสามารถทำการประมาณค่าเชิงพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและแผนที่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นมีความน่าเชื่อถือและสามารถนำไปใช้งานได้ ขั้นตอนที่ 2 การทดสอบโดยอาศัยฐานข้อมูลคะแนน O-NET เพื่อตรวจสอบความแม่นยำ ในการประมาณค่าของวิธีการสุ่มแบบกริด วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และวิธีการสุ่มแบบกริด-ชั้นภูมิ จากผลการทดลอง พบว่า วิธีการสุ่มแบบกริดมีความแม่ยำต่ำที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 3.18 คะแนน วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนมีความแม่นยำเป็นอันดับ 2 โดยมีค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 2.52 คะแนน และวิธีการสุ่มแบบกริด-ชั้นภูมิมีความแม่นยำมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ย ความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 2.05 คะแนน นอกจากนี้แผนที่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกริด หรือแบบกริด-ชั้นภูมิ ได้ให้สารสนเทศทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ซึ่งแตกต่างจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนที่ให้สารสนเทศเฉพาะระดับประเทศเท่านั้น
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.titleแบบจำลองการประมาณค่าเชิงพื้นที่ของการสุ่มแบบกริด : กรณีศึกษาของการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2548
dc.title.alternativeSptil interpoltion model of grid smpling: cse study of o-net in 2005
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeGrid sampling is a popular sampling method for research in the physical sciences, in the case of a large population and large areas. The purpose of this research is to test whether grid-based random sampling is appropriate for behavioral and social science research, two steps are required. Step 1: Testing the Grid Sampling method by testing a built model and by comparison with other sampling methods. The results of the experiment are: when using grid sampling with S0 and S00 models, which has zero spatial correlation, the mean of the discrepancies and the difference of the variance is very large. This shows that grid-based sampling is not appropriate for population with zero spatial correlation. In the S1-S4 model with positive spatial correlation when tested with various random methods, the results are: A Stratified Random Sampling method, Systematic Random Sampling method and the Grid Sampling method are all highly accurate methods. However, the accuracy of Simple Random Sampling method and Cluster Random Sampling methods are all low. In addition, in the spatial accuracy estimation of grid-based method with the SI1-SI3 model, it is found that: When the spatial correlation is positive, the spatial correlation can be performed correctly and the map of Geographical Information System (GIS) is credible and can be used. Step 2: Using the database of O-NET scoring test to verify the accuracy of the grid sampling method, Multistage Random Sampling and Stratified Random Sampling method, the results are: The grid method has the lowest accuracy. The average error rate is 3.18 points. The multistage random sampling method is the second most accurate with 2.52 mean error scores and the most accurate method is Grid-Stratified Random Sampling method. The average error rate is 2.05 points. In addition, the GIS maps derived from the Grid Sampling method or Grid-Stratified Random Sampling method provided information at national and local level. This is different from Multistage Random Sampling that provides information only at national level.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameปร.ด.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf9.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น