กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6923
ชื่อเรื่อง: | การระบุกลุ่มประสิทธิภาพของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงโอบล้อมข้อมูลและการวัดอนุกรมวิธาน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The efficien identifying of higher eduction qulity: dt envelopment nlysis, nd txometric nlysis |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ไพรัตน์ วงษ์นาม สหัทยา รัตนะมงคลกุล โสธิตภา เมืองศิริ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | สถาบันอุดมศึกษา -- การจัดอันดับ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา การบริหารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาตัวแบบปัจจัยประสิทธิภาพของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบหลักประสิทธิภาพของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา 3) เพื่อระบุกลุ่มประสิทธิภาพของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงโอบล้อม ข้อมูล และการวัดอนุกรมวิธาน 4) เพื่อศึกษาความสอดคล้องของการระบุกลุ่มประสิทธิภาพของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ เชิงโอบล้อมข้อมูล และการวัดอนุกรมวิธาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่รับการประเมินผ่านการรับรองมาตรฐานการจัดการศึกษาของสถานศึกษารอบสาม พ.ศ. 2554-2558 จากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) เลือกตามสังกัด จำนวน 11 สังกัด ได้จำนวน 260 แห่ง ซึ่งได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) และที่ยังไม่ได้รับการประเมิน การรับรองมาตรฐานการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 5 แห่ง เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (องค์การมหาชน) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม R ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น การวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และการวิเคราะห์การวัดอนุกรมวิธาน และใช้โปรแกรม DEAP 2.1 วิเคราะห์ประสิทธิภาพของสถานศึกษา ผลการวิจัย พบว่า 1) ตัวแบบปัจจัยประสิทธิภาพของสถานศึกษา เป็นตัวแบบที่เป็นไปได้ 9 ตัวแบบ ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ที่ 12 การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภาสถาบัน ตัวบ่งชี้ที่ 13 การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถาบัน ตัวบ่งชี้ที่ 14 การพัฒนาคณาจารย์ ตัวบ่งชี้ที่ 15 ผลประเมินการประกันคุณภาพภายในรับรองโดยต้นสังกัด ตัวบ่งชี้ที่ 16.1 ผลการบริหารสถาบัน ให้เกิดอัตลักษณ์ ตัวบ่งชี้ที่ 16.2 ผลการพัฒนา บัณฑิตตามอัตลักษณ์ ตัวบ่งชี้ที่ 17 ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถาบัน ตัวบ่งชี้ที่ 18.1 ผลการชี้นำ ป้องกัน หรือ แก้ปัญหาของสังคมในประเด็นที่ 1 ภายในสถาบัน ตัวบ่งชี้ที่ 18.2 ผลการชี้นำ ป้องกัน หรือแก้ปัญหา ของสังคมในประเด็นที่ 2 ภายนอกสถาบัน 2) องค์ประกอบหลักประสิทธิภาพของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ที่ 14 การพัฒนาคณาจารย์ ตัวบ่งชี้ที่ 16.2 ผลการพัฒนาพัฒนาบัณฑิต ตามอัตลักษณ์ ตัวบ่งชี้ที่ 3 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ 3) การระบุกลุ่มประสิทธิภาพของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ เชิงโอบล้อมข้อมูล สามารถระบุกลุ่มประสิทธิภาพ ร้อยละ 64.90 และการวัดอนุกรมวิธาน ร้อยละ 96.20 และ 4) ความสอดคล้องของการระบุกลุ่มประสิทธิภาพของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงโอบล้อมข้อมูล และการวัดอนุกรมวิธานมีความสอดคล้องกัน |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6923 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.32 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น