กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6923
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorไพรัตน์ วงษ์นาม
dc.contributor.advisorสหัทยา รัตนะมงคลกุล
dc.contributor.authorโสธิตภา เมืองศิริ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:25:04Z
dc.date.available2023-05-12T03:25:04Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6923
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาตัวแบบปัจจัยประสิทธิภาพของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบหลักประสิทธิภาพของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา 3) เพื่อระบุกลุ่มประสิทธิภาพของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงโอบล้อม ข้อมูล และการวัดอนุกรมวิธาน 4) เพื่อศึกษาความสอดคล้องของการระบุกลุ่มประสิทธิภาพของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ เชิงโอบล้อมข้อมูล และการวัดอนุกรมวิธาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่รับการประเมินผ่านการรับรองมาตรฐานการจัดการศึกษาของสถานศึกษารอบสาม พ.ศ. 2554-2558 จากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) เลือกตามสังกัด จำนวน 11 สังกัด ได้จำนวน 260 แห่ง ซึ่งได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) และที่ยังไม่ได้รับการประเมิน การรับรองมาตรฐานการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 5 แห่ง เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (องค์การมหาชน) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม R ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น การวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และการวิเคราะห์การวัดอนุกรมวิธาน และใช้โปรแกรม DEAP 2.1 วิเคราะห์ประสิทธิภาพของสถานศึกษา ผลการวิจัย พบว่า 1) ตัวแบบปัจจัยประสิทธิภาพของสถานศึกษา เป็นตัวแบบที่เป็นไปได้ 9 ตัวแบบ ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ที่ 12 การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภาสถาบัน ตัวบ่งชี้ที่ 13 การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถาบัน ตัวบ่งชี้ที่ 14 การพัฒนาคณาจารย์ ตัวบ่งชี้ที่ 15 ผลประเมินการประกันคุณภาพภายในรับรองโดยต้นสังกัด ตัวบ่งชี้ที่ 16.1 ผลการบริหารสถาบัน ให้เกิดอัตลักษณ์ ตัวบ่งชี้ที่ 16.2 ผลการพัฒนา บัณฑิตตามอัตลักษณ์ ตัวบ่งชี้ที่ 17 ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถาบัน ตัวบ่งชี้ที่ 18.1 ผลการชี้นำ ป้องกัน หรือ แก้ปัญหาของสังคมในประเด็นที่ 1 ภายในสถาบัน ตัวบ่งชี้ที่ 18.2 ผลการชี้นำ ป้องกัน หรือแก้ปัญหา ของสังคมในประเด็นที่ 2 ภายนอกสถาบัน 2) องค์ประกอบหลักประสิทธิภาพของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ที่ 14 การพัฒนาคณาจารย์ ตัวบ่งชี้ที่ 16.2 ผลการพัฒนาพัฒนาบัณฑิต ตามอัตลักษณ์ ตัวบ่งชี้ที่ 3 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ 3) การระบุกลุ่มประสิทธิภาพของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ เชิงโอบล้อมข้อมูล สามารถระบุกลุ่มประสิทธิภาพ ร้อยละ 64.90 และการวัดอนุกรมวิธาน ร้อยละ 96.20 และ 4) ความสอดคล้องของการระบุกลุ่มประสิทธิภาพของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงโอบล้อมข้อมูล และการวัดอนุกรมวิธานมีความสอดคล้องกัน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา -- การจัดอันดับ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subjectการบริหารการศึกษา
dc.titleการระบุกลุ่มประสิทธิภาพของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงโอบล้อมข้อมูลและการวัดอนุกรมวิธาน
dc.title.alternativeThe efficien identifying of higher eduction qulity: dt envelopment nlysis, nd txometric nlysis
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to 1) identity an efficiency factor model of higher education, 2) analyze the main efficiency factors of higher education, 3) identify efficiency cluster of higher education via data envelopment analysis and taxometric analysis, 4) investigate the congruency of efficiency identification of higher education by data envelopment analysis and taxometric analysis. Samples of this study were the higher educational institutions that were accredited for the third-round of External Quality Assessment for Higher Education during 2011-2015 from the Office for National Education Standards and Quality Assessment (ONESQA). The Total of 260 institutions were purposively selected from 11 affiliations, and other five institutions who were to be accredited from the ONESQA. The ONESQA Evaluation Report were employed as the study instruments. Basic data, main factors, and taxometric analysis were determined by R for Windows, while the efficiency was analyzed by DEAP 2.1. The results were that; 1. The efficiency factors of the higher education composed of 9 possible indicators, they were, the 12th indicator; performance of institution’s council with regard to its roles and responsibilities, indicator 13th; performance of institution’s administrators regarding their roles and responsibilities, indicator 14th; teaching staff development, indicator 15th; approval of internal assessment results by the supervisory office, indicator 16.1th; the institution’s administration leading to its identity, indicator 16.2th; the graduate training focusing on its identity, indicator 17th, results from the institution’s development based on its specialties and strengths reflecting the institution’s uniqueness, indicator 18.1th, results from the institution’s Solving social problems, making recommendations for improvement, or protecting society from threats in Issue 1 (on campus), and indicator 18.2th results from the institution’s solving social problems, making recommendations for improvement, or protecting from threats in Issue 2 (off campus). 2. Main factors of the efficiency of the higher education were indicator 14th; teaching staff development, indicator 15th; approval of internal assessment results by the supervisory office, and indicator 16.2th; the graduate training focusing on its identity, and indicator 3rd publication or dissemination of master’s degree works. 3. The identified cluster of efficiency of higher education identified by data envelopment analysis and taxometric analysis can indicate 64.90 and 96.20 percent respectively. 4. The identified cluser of the efficiency of the higher education of both analysis were consistent with each other.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameปร.ด.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น