กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6908
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors ffecting effectiveness of Specil Eduction Center in Estern Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภารดี อนันต์นาวี
ชารี มณีศรี
จีระพรรณ โพนพุธ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก -- การบริหาร
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
ประสิทธิผลองค์การ
ศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก ศึกษาปัจจัยด้านการบริหารและปัจจัยด้านทรัพยากรการเรียนการสอนของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารและปัจจัยด้านทรัพยากรการเรียนการสอนกับประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก ศึกษาปัจจัยด้านการบริหารและปัจจัยด้านทรัพยากรการเรียนการสอน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก และสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก จากปัจจัยด้านการบริหารและปัจจัยด้านทรัพยากรการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ครูของศูนย์การศึกษาพิเศษ ในเขตภาคตะวันออก จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson correlation coefficien) และสหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple correlation analysis) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) และการวิเคราะห์ถดถอยแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยด้านการบริหารและปัจจัยด้านทรัพยากรการเรียนการสอนของศูนย์การศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3. ปัจจัยด้านการบริหารกับประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก ระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีม (X3) การมีส่วนร่วม (X4) ของศูนย์การศึกษาพิเศษส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเรียงลำดับจาก มากไปน้อย ได้แก่ การมีส่วนร่วม (X4) การทำงานเป็นทีม (X3) ตามลำดับ 5. ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม (X4) ปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีม (X3) สามารถพยากรณ์ประสิทธิผล ของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก (Y) มีค่าอำนาจพยากรณ์คิดเป็นร้อยละ 84.6 โดยสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ดังนี้ = .012 + .213 (X3) + .743 (X4) หรือในรูปสมการคะแนนมาตรฐาน = .217 (X3) + .944 (X4)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6908
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น