Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก ศึกษาปัจจัยด้านการบริหารและปัจจัยด้านทรัพยากรการเรียนการสอนของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารและปัจจัยด้านทรัพยากรการเรียนการสอนกับประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก ศึกษาปัจจัยด้านการบริหารและปัจจัยด้านทรัพยากรการเรียนการสอน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก และสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก จากปัจจัยด้านการบริหารและปัจจัยด้านทรัพยากรการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ครูของศูนย์การศึกษาพิเศษ ในเขตภาคตะวันออก จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson correlation coefficien) และสหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple correlation analysis) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) และการวิเคราะห์ถดถอยแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยด้านการบริหารและปัจจัยด้านทรัพยากรการเรียนการสอนของศูนย์การศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3. ปัจจัยด้านการบริหารกับประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก ระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีม (X3) การมีส่วนร่วม (X4) ของศูนย์การศึกษาพิเศษส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเรียงลำดับจาก มากไปน้อย ได้แก่ การมีส่วนร่วม (X4) การทำงานเป็นทีม (X3) ตามลำดับ 5. ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม (X4) ปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีม (X3) สามารถพยากรณ์ประสิทธิผล ของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก (Y) มีค่าอำนาจพยากรณ์คิดเป็นร้อยละ 84.6 โดยสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ดังนี้ = .012 + .213 (X3) + .743 (X4) หรือในรูปสมการคะแนนมาตรฐาน = .217 (X3) + .944 (X4)