กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6875
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการจัดกการเรียนการสอนของครูโรงเรียนการจัดการเรียนร่วมกลุ่มคุณภาพกบินทร์บุรี 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of teching for techers in inclusive eduction schools under qulity Kbinburi 4 Prchinburi primry eduction service re office 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชัยพจน์ รักงาม
สุทธิรักษ์ คำพานนท์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การเรียนแบบมีส่วนร่วม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
การศึกษาพิเศษ
ครูสอนเด็กพิเศษ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนการจัด การเรียนร่วม กลุ่มคุณภาพกบินทร์บุรี 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนการจัดการศึกษาเรียนร่วม กลุ่มคุณภาพกบินทร์บุรี 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ซึ่งเป็นเครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) แบ่งเป็น 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .28-.72 และค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สถิติ t-test สถิติ F-test (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยใช้การเปรียบเทียบโดยใช้วิธีการทดสอบรายคู่แบบ LSD (Least significant difference) ผลการวิจัย พบว่า 1. การจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนการจัดการเรียนร่วม กลุ่มคุณภาพกบินทร์บุรี 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 2. การจัดการเรียนการสอนของครู จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านเจตคติในการจัดการศึกษาเรียนร่วม และด้านการพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนทักษะในการจัดการเรียนร่วม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. การจัดการเรียนการสอนของครูจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและ รายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ พบว่า ด้านการพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนทักษะในการจัดการเรียนร่วม มีความแตกต่าง 2 คู่ ด้านการจัดทำ แผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) มีความแตกต่าง 2 คู่ ด้านการจัดหา ผลิตและใช้เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา มีความแตกต่าง 2 คู่ ด้านการจัดการเรียนรู้ มีความแตกต่าง 2 คู่ ด้านการวัดและประเมินผล มีความแตกต่าง 1 คู่ และด้านการใช้กระบวนการวิจัย มีความแตกต่าง 2 คู่ พบว่า ยกเว้น ด้านเจตคติในการจัดการศึกษา และด้านการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6875
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf799.18 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น