กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6866
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ของครูโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems nd guided development of centrl curriculum 2551 in the level of bsic eduction of techers in suphnburi sports school
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์
พัชราภรณ์ พานทอง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
การวางแผนการศึกษา
โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี
หลักสูตร -- การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของครูโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี 2) เปรียบเทียบปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ของครูโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามเพศ ระดับชั้นที่สอน และประสบการณ์การสอน และ 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนสายสามัญโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 35 คน ในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan (1970) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า ชนิด 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .20 ถึง .82 มีค่าความเชื่อมั่น ได้เท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) เบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสถิติที่ใช้ทดสอบในการเปรียบเทียบ (t) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษาปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของครูโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า โดยภาพรวม มีปัญหาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ย คือ ด้านการนิเทศ กำกับติดตาม ประเมินผล ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และด้านการเตรียมความพร้อม ของสถานศึกษา พบว่า 1.1 ด้านการนิเทศ กำกับติดตาม ประเมินผล โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงตามคะแนนเฉลี่ย 3 อันดับ คือ การจัดทำแผนปฏิบัติการ โดยให้ คณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วม การกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินโดยทุกคน มีส่วนร่วม และการนิเทศ กำกับ การติดตามผลการใช้หลักสูตรจากภายนอกสถานศึกษา 1.2 ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก เรียงตามคะแนนเฉลี่ย 3 อันดับ คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายของการจัดการศึกษา การกำหนดเวลา จำนวนน้ำหนักและจำนวนหน่วยกิต และการกำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1.3 ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก เรียงตามคะแนนเฉลี่ย 3 อันดับ คือ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้ผู้ปกครอง นักเรียน หน่วยงานได้รับทราบและขอความร่วมมือ การจัดทำเอกสารคู่มือการทำงานอย่างถูกต้อง และการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้แก่บุคลากร 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของครูโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามเพศ ระดับชั้นที่สอน และประสบการณ์การสอน พบว่า แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผลการวิเคราะห์แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี สามารถสรุปผลได้ดังนี้ 3.1 ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา ควรพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักหลักสูตร ควรมีการจัดทำแผนภูมิการปฏิบัติงานแสดงสายงาน หน้าที่ ความรับผิดชอบของบุคลากรอย่างถูกต้องและเหมาะสม มีการมอบหมายงาน และกระจายอำนาจงานในหน้าที่ให้บุคลากรอย่างเหมาะสม และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้ผู้ปกครอง นักเรียนได้รับทราบ 3.2 ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ควรมีการกำหนดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาแต่ละช่วงชั้น สัดส่วนเวลาเรียน วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายของการจัดการศึกษา เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลิตสื่อการเรียนรู้ สนับสนุนอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน หรือแหล่งการเรียนรู้ให้พร้อม และมีการเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แสดงความคิดเห็น 3.3 ด้านการนิเทศ กำกับติดตาม ประเมินผล ควรมีการออกแบบหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการศึกษาให้เหมาะสมกับหลักสูตรสถานศึกษา มีการกำหนดรูปแบบ วิธีการและหลักเกณฑ์การวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับแนวการวัด และประเมินผลของหลักสูตร และมีการจัดทำแผนปฏิบัติการโดยให้คณะกรรมการสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (กศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6866
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น