กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6854
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่องการยิงปืนประกอบการเคลื่อนที่เป็นคู่สำหรับหน่วยฝึกทหารใหม่ กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 7 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of ssistive trining pckge: squd mneuvers (bounding metthods) for New Recruit Trining Unit in 7th Antiircrft Artillery Bttlion |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภูเบศ เลื่อมใส ดวงพร ธรรมะ ภัคนัน จิตต์สว่าง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 7 -- หน่วยฝึกทหารใหม่ -- การซ้อมรบ ทหาร -- การฝึกอบรม มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา การยิงปืน -- การสอนด้วยสื่อ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างชุดฝึกอบรม เรื่องการยิงปืนประกอบ การเคลื่อนที่เป็นคู่ สำหรับหน่วยฝึกทหารใหม่กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 7 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 = 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนจากการทดสอบการฝึกปฏิบัติก่อนและหลังใช้ชุดฝึกอบรมเรื่องการยิงปืนประกอบการเคลื่อนที่เป็นคู่ สำหรับหน่วยฝึกทหารใหม่กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 7 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ทหารใหม่ ผลัดที่ 2ประจำปี พ.ศ. 2559 ของหน่วยฝึกทหารใหม่กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 7 ที่ยังไม่ได้รับการฝึกวิชายุทธวิธี เรื่องการยิงปืนประกอบการเคลื่อนที่เป็นคู่ จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการแบ่งชั้นภูมิ โดยผู้วิจัยทำการแบ่งชั้นภูมิกลุ่มตัวอย่างเป็นชั้นภูมิ 3 กลุ่ม โดยใช้คะแนนการทดสอบวิชาอบรม ตามหลักสูตรการฝึกทหารใหม่เบื้องต้นทั่วไปสำหรับทหารทุกเหล่าของกองทัพบก (10 สัปดาห์) พ.ศ. 2551 เป็นเกณฑ์ในการแบ่งชั้นภูมิ และทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จากกลุ่มตัวอย่างที่ทำการจัดชั้นภูมิไว้แล้ว กลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ชุดฝึกอบรมเรื่องการยิงปืนประกอบการเคลื่อนที่เป็นคู่ สำหรับหน่วยฝึกทหารใหม่ กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 7 2) เครื่องมือ ที่ใช้หาประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรม ได้แก่ แบบทดสอบการฝึกปฏิบัติก่อนและหลังการฝึกอบรม และแบบทดสอบการฝึกปฏิบัติระหว่างการฝึกอบรม 3) เครื่องมือที่ใช้ประเมินคุณภาพของ ชุดฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพสื่อประเภทสื่อวีดีทัศน์ และแบบประเมินเนื้อหาสาระโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 4) เครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และการทดสอบค่า t-test Dependent ผลการวิจัย ปรากฏว่า 1) ชุดฝึกอบรม เรื่องการยิงปืนประกอบการเคลื่อนที่เป็นคู่ สำหรับหน่วยฝึกทหารใหม่กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 7 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ E1/E2 = 85.67/84.67 เป็นไปตามเกณฑ์ E1/E2 = 80/80 2) ทหารใหม่ที่เข้ารับการฝึกอบรม มีความก้าวหน้าในการฝึกอบรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6854 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 6.27 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น