กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6838
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนประเภทวิชาบริหารธุรกิจ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A development of corporte socil responsibility indictors ofprivte voctionl institutions
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมโภชน์ อเนกสุข
สุรีพร อนุศาสนนันท์
อัญชลี ทองประกอบ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ความรับผิดชอบต่อสังคม
ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา
ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
การบริหารการศึกษา
การศึกษาทางวิชาชีพ
วิทยานิพนธ์?aปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคม และศึกษาความเป็นได้ในการนำ ตัวบ่งชี้ไปใช้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน หัวหน้าหมวดวิชา และครูผู้สอน จำนวน 660 คน จาก 220 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและแนวคำถามที่ใช้สัมภาษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน สาขาบริหารธุรกิจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ความตรง ความเที่ยงขององค์ประกอบ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนเฉลี่ยของตัวแปรแฝงที่ถูกสกัดได้ ผลการวิจัย พบว่า 1. ตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน สาขาบริหารธุรกิจ 5 ด้าน คือ ด้านผู้มีส่วนได้เสีย ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม วัฒนธรรม และ ด้านอาสาสมัคร แต่ละด้านมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก และมีความสอดคล้องกันระหว่างการดำเนินงานกับความคาดหวังที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 2. องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2 = 2.002, Chi-square/ df = 1.001, df = 2, p = .367, GFI = .998, CFI = 1.000, RMR = .001, RMSEA = .001, MFI = .999) ค่าความตรงระหว่าง .4830 ถึง .8930 ค่าความเที่ยงขององค์ประกอบระหว่าง .5515 ถึง .7976 ค่าความแปรปรวนเฉลี่ยของตัวแปรแฝงที่ถูกสกัดได้ .50 และผลการใช้ตัวบ่งชี้มีความถูกต้องร้อยละ 83.90 3. ผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำตัวบ่งชี้ไปใช้วัดความรับผิดชอบต่อสังคม ของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน สาขาบริหารธุรกิจ กลุ่มสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน ที่มีคะแนน จากบ่งชี้ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกับกลุ่มสถาบันที่มีค่าเฉลี่ยต่ำ สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติ ดังนี้ กลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยสูง มีจุดเน้นความรับผิดชอบต่อสังคมทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้มีส่วนได้เสีย ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม วัฒนธรรม และด้านอาสาสมัคร โดยมีความคิดเห็นว่า ควรมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน อันเป็นผลสู่รากฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ กลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำ มีจุดเน้นความรับผิดชอบต่อสังคม 2 ด้าน ได้แก่ ด้านสังคม วัฒนธรรม และด้านอาสาสมัคร โดยมีความคิดเห็นว่า สามารถสื่อให้เห็นภาพกิจกรรมที่ทำ และส่งเสริมภาพลักษณ์ของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนได้
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6838
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น