กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6837
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรีพร อนุศาสนนันท์ | |
dc.contributor.advisor | ไพรัตน์ วงษ์นาม | |
dc.contributor.author | ชยุต พิพัฒฐาดร | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:21:40Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:21:40Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6837 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดสมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทยเมื่อเข้าสู่ยุคอาเซียนภิวัตน์ ตรวจสอบคุณภาพ สร้างเกณฑ์ปกติวิสัยระดับประเทศ และสังเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทยเมื่อเข้าสู่ยุคอาเซียนภิวัตน์ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยเป็นผู้บริหารสถานศึกษาสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1,130 คน ได้มาโดยการสุ่ม แบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดสมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทยเมื่อเข้าสู่ยุคอาเซียนภิวัตน์ มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ สมรรถนะหลัก สมรรถนะการบริหารงาน และสมรรถนะอาเซียน ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบวัดสมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทยเมื่อเข้าสู่ยุคอาเซียนภิวัตน์ที่พัฒนาขึ้น มีข้อคำถาม 86 ข้อ เพื่อวัดสมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทยเมื่อเข้าสู่ยุคอาเซียนภิวัตน์ในองค์ประกอบสมรรถนะหลัก 34 ข้อ สมรรถนะการบริหารงาน 24 ข้อ และสมรรถนะอาเซียน 28 ข้อ 2. ผลการวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัดสมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทยเมื่อเข้าสู่ยุคอาเซียนภิวัตน์ พบว่า แบบวัดในองค์ประกอบสมรรถนะหลัก สมรรถนะการบริหารงาน และสมรรถนะอาเซียน มีค่าอำนาจจำแนก (t) อยู่ระหว่าง 3.102 ถึง 8.259, 3.102 ถึง 8.021 และ 3.006 ถึง 6.102 ตามลำดับ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกองค์ประกอบ เมื่อคำนวณค่าความเที่ยงโดยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค พบว่า มีค่าเท่ากับ .94, .92 และ .98 ตามลำดับ และความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า โมเดลสมรรถนะ การบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทยเมื่อเข้าสู่ยุคอาเซียนภิวัตน์สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2 = 92.64, P-value = .00012 df = 48, 2/ df = 1.93, RMSEA = .029, CFI = .99, GFI = .99, AGFI = .97) ข้อคำถามทั้ง 86 ข้อ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เกณฑ์ปกติวิสัยของแบบวัดสมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานในประเทศไทยเมื่อเข้าสู่ยุคอาเซียนภิวัตน์ จำแนกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ สมรรถนะ การบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทยเมื่อเข้าสู่ยุคอาเซียนภิวัตน์ ในระดับสูง มีตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ในช่วง 77.01 ถึง 100.00 สเตไนน์ที่ 7 ถึง 9 ระดับปานกลาง มีตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ในช่วง 23.01 ถึง 77.00 สเตไนน์ที่ 4 ถึง 6 และผู้บริหารที่มีสมรรถนะ การบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทยเมื่อเข้าสู่ยุคอาเซียนภิวัตน์ ในระดับควรได้รับการแก้ไข มีตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ในช่วง 0.00 ถึง 23.00 สเตไนน์ที่ 1 ถึง 3 4. องค์ประกอบสมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในประเทศไทยเมื่อเข้าสู่ยุคอาเซียนภิวัตน์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม มีจำนวน 16 องค์ประกอบ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 สมรรถนะหลัก มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2) การบริการที่ดี 3) การพัฒนาวิชาการ 4) การทำงานเป็นทีม และ 5) การมีภาวะผู้นำ กลุ่มที่ 2 สมรรถนะ การบริหารงาน มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การคิดวิเคราะห์ และการคิดเชิงมโนทัศน์ 2) การสื่อสารและการจูงใจ 3) การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร 4) การมีวิสัยทัศน์ 5) การบังคับบัญชา และ 6) ความรู้พิเศษ และกลุ่มที่ 3 สมรรถนะอาเซียน มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ค่านิยมอาเซียน 2) ความต่างวัฒนธรรมและต่างกระบวนทัศน์ 3) ความยืดหยุ่นและการปรับตัว 4) ทักษะภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน และ 5) คุณธรรมจริยธรรมสากล | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ผู้บริหารโรงเรียน -- ไทย | |
dc.subject | โรงเรียน -- การบริหาร | |
dc.subject | บุคลากรทางการศึกษา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา | |
dc.title | การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทยเมื่อเข้าสู่ยุคอาเซียนภิวัตน์ | |
dc.title.alternative | A development of mngement competency test for the bsic eduction school director in thilnd when towrds Aseniztion era | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to develop a management competency test for the basic education school director in Thailand to enter ASEANIZATION ERA, to verify the quality and to construct the national norm of the management competency test for the basic education school director in Thailand. The samples were 1,130 basic education school directors selected by multi stage random sampling technique. The research instruments were a management competency test for the basic education school director in Thailand to enter ASEANIZATION ERA. The tests composed of three factors: Core competencies, management competencies, and ASEAN competencies. The results of the study were; 1. The management competency test consisted of 86 items, classified into three categorized factors. Thirty-four items of core competencies, 24 items of management competencies, and 28 items of ASEAN competencies. 2. According to the result of the analysis of the management competency test it showed that the test provided discrimination factor of core competencies, factor of management competencies, and factor of ASEAN competencies were in the range of 3.102 to 8.259, 3.102 to 8.021, and 3.006 to 6.102 respectively at the statistically significant level of .05, while the test provided Cronbach’s alpha reliability coefficient at .94, .92 and .98 respectively. The construct validity of the management competency test correlated to the empirical data, the index were 2 = 92.64, P-value = .00012, df = 48, 2/ df = 1.93, RMSEA = .029, CFI = .99, GFI = .99, AGFI = .97, all 86 items were statistically significant level of .05. 3. The norms of the management competency test were divided into 3 levels, percentile ranked between 77.01 to 100.00 (stanine 7 to 9) indicating high level of management competency, percentile ranked between 23.01 to 77.00 (stanine 4 to 6) indicating normal level of management competency, and percentile ranked between 0.00 to 23.00 (stanine 1 to 3) indicating that rectification should be done. 4. Factor of management competency for the basic education school directors were divided into 3 groups consisted of 16 factors, group 1 core competencies with five elements: 1) achievement motivation 2) service mind 3) academic development 4) teamwork and 5) leadership, group 2 management competencies with six elements: 1) analytical thinking & conceptual thinking 2) communication and influencing 3) caring and development others 4) visioning 5) directing subordinates and 6) specialized knowledge, and group 3 ASEAN competencies with five elements: 1) Asian values 2) the different cultures and different paradigm 3) flexibility & adaptability 4) skill of English and Asian languages and 5) global ethics. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา | |
dc.degree.name | ปร.ด. | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 4.92 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น