กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6791
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorชัยพจน์ รักงาม
dc.contributor.authorกมลวรรณ หยวกทอง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:20:19Z
dc.date.available2023-05-12T03:20:19Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6791
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูประจำชั้น ระดับชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนขยายโอกาส ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำนวน 210 คน ตามการเปิดตารางสุ่ม Krejcie and Morgan และใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น จำแนกตามระดับชั้นของครูประจำชั้น ประสบการณ์ในการทำงานของครูประจำชั้น และขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 44 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .48-.91 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) และ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สถิติ t-test สถิติ F-test (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ใช้การเปรียบเทียบโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบรายคู่ของเชฟเฟ่ (Scheffe's method) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำแนกตามระดับชั้นของครูประจำชั้นโดยรวมและ รายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของครู พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมและ รายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยโรงเรียนขนาดใหญ่มีปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนมากกว่าโรงเรียนขนาดกลาง
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectนักเรียนประถมศึกษา -- การดูแล
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.titleปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1
dc.title.alternativeProblems on the implement of student nurturing system in opportunity expnsion school under nonthburi primry eductionl service re office 1
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study and to compare problems on the implement of student nurturing system in opportunity expansion school under Nonthaburi Primary Educational Service Area Office 1. The sample used in this study was 210 teachers primary and secondary class teachers of Nonthaburi Primary Educational Service Area Office 1 selected by stratified random sampling according to teaching levels, work experiences and schools’ sizes. The research instrument was a-five-rating-scale questionnaire (44 items) with discrimination power between .48-.99 and the reliability at .99. The data was analyzed by mean ( ), standard deviation (SD), t-test, F-test (One-way ANOVA) and Scheffe’ s method. The results of the study were as follows: 1. Problems on the implement of student nurturing system in opportunity expansion school under Nonthaburi Primary Educational Service Area Office 1 were at moderate level. 2. The comparison of problems on the implement of student nurturing system in the schools according to teachers’ levels was not different statistically in general except knowing individual student. It was statistically significant difference at .05 level. 3. The comparison of problems on the implement of student nurturing system in the schools according to teachers’ experiences was not different statistically. 4. The comparison of problems on the implement of student nurturing system in the schools according to schools’ sizes was not different in general. Except students’ development and support was statistically significantly at .05 level. It revealed that large schools has more problems on the implement of student nurturing system about students’ development and support than middle schools.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameกศ.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf632.07 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น