กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6776
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและแนวทางพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในกลุ่มอำเภอนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems and guided solution for improvement of students caring system of school in amphur Nikhompattana under Rayong primary eductional service
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชัยพจน์ รักงาม
สุจริยา ขมสนิท
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: นักเรียนประถมศึกษา -- การดูแล
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษาโรงเรียนในกลุ่มอำเภอนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูที่ปรึกษา จำนวน 71 คน โดยใช้ตารางกำหนดขนาดของเครจซี่ และมอร์แกน จากนั้นทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนครูที่ปรึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 34 ข้อ ที่มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ระหว่าง .21 - .87 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .91 และสอบถามแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นแบบสอบถามแบบจัดอันดับความสำคัญ (Rank order) จำนวน 5 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคำตอบในการวิจัยและทดสอบสมมุติฐาน ประกอบด้วย ค่าความถี่ (Frequency) และร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t–test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) กรณีที่พบความแตกต่างใช้การเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe) คำสำคัญ: ผลการวิจัยปรากฏว่า คำสำคัญ: 1. ปัญหาในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในกลุ่มอำเภอนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายข้อสามอันดับแรกได้แก่ ปัญหาด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ปัญหาด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน และปัญหาด้านการส่งเสริมนักเรียน คำสำคัญ: 2. เปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำแนกตามระดับชั้นของครูที่ปรึกษานั้น โดยรวม และด้านการการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และด้านการส่งต่อนักเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 มีปัญหาน้อยกว่าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงานของครูที่ปรึกษาพบว่าโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกด้าน คือครูที่มีประสบการณ์น้อยกว่า 5 ปีจะมีปัญหาแตกต่างมากกว่าครูที่มีประสบการณ์มาก คำสำคัญ: 3. แนวทางในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนควรให้ความสำคัญในเรื่องต่างๆ สามอันดับแรก ได้แก่ สนับสนุนงบประมาณในการเยี่ยมบ้านนักเรียน ผู้บริหารให้ความสำคัญ ในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการอบรมและพัฒนาครูให้มีความรู้ ทักษะ และเทคนิควิธีในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (กศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6776
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น