กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6771
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุเมธ งามกนก
dc.contributor.authorนุชอนงค์ สุขกลิ่น
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:20:14Z
dc.date.available2023-05-12T03:20:14Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6771
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานวิชาการของครูโรงเรียนวัดศรีพโลทัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ตามขอบข่ายกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550 ด้านวิชาการ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์เอกสาร ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ครูโรงเรียนวัดศรีพโลทัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เป็นครูที่ปฏิบัติงานวิชาการในโรงเรียนวัดศรีพโลทัย จำนวน 7 คน และผู้ให้ข้อมูลแนวทางการแก้ไขปัญหา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนวัดศรีพโลทัย จำนวน 1 คน หัวหน้างานวิชาการโรงเรียนวัดศรีพโลทัย จำนวน 1 คน และศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 จำนวน 1 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า (Triangulation analysis) และการสรุปเชิงอุปนัย (Inductive analysis) ผลการศึกษา พบว่า 1. ปัญหาการปฏิบัติงานวิชาการของครูโรงเรียนวัดศรีพโลทัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 พบปัญหาดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนส่วนมากไม่เข้าใจในเรื่องของหลักสูตรโดยเฉพาะหลักสูตรสถานศึกษาที่มีการจัดทำแต่นำไปใช้ อยู่ในระดับน้อย 2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่อาจไม่ตรงตามความสนใจของผู้เรียน 3) ด้านการวัดผล ประเมินผล ครูผู้สอนขาดประสบการณ์ และความชำนาญในการวัดผล ประเมินผล ส่งผลให้การวัดผลประเมินผลไม่ต่อเนื่องหรือไม่ได้มาตรฐานตรงตามเป้าหมายที่กำหนด 4) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ครูผู้สอนขาดทักษะความชำนาญในกระบวนการการทำวิจัยในชั้นเรียนที่ถูกต้อง ทำให้การทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหา/ พัฒนาการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามกระบวนการในการวิจัย 5) ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ครูผู้สอนขาดประสบการณ์ และความชำนาญในการผลิตสื่อ นวัตกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ทำให้การผลิตสื่อไม่สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน 6) ด้านการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ขาดการร่วมมือหรือประสานงานกันกับชุมชนในการหาแนวทาง การจัดแหล่งเรียนรู้ร่วมกันของโรงเรียนกับชุมชน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน 7) ด้านการนิเทศการศึกษา ขาดการบันทึกผล และสรุปผลการนิเทศภายในที่เป็นระบบ เป็นเพียงการบอกกล่าว ทำให้บางครั้งผู้ถูกนิเทศไม่สนใจที่จะนำข้อมูลไปพัฒนากระบวนการสอนและการทำงาน และ 8) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ครูผู้สอนขาดความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน 2. แนวทางแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานวิชาการของครูโรงเรียนวัดศรีพโลทัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ควรเชิญศึกษานิเทศก์หรือวิทยากรภายนอกมาบรรยายเชิงปฏิบัติการในด้านหลักสูตรสถานศึกษาให้แก่ครูผู้สอน โดยเน้นย้ำให้ครูจัดการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด และเน้นการจัดการเรียนแบบบูรณาการ 2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ควรส่งเสริมให้ครูวิเคราะห์หลักสูตร ผู้เรียน สาระการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่หลักสูตรกำหนด โดยเน้นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน ควรเชิญวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการวัด และประเมินผลมาให้ความรู้เกี่ยวกับการวัดผล และประเมินผลตามสภาพจริง 4) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ควรจัดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนให้แก่ครูผู้สอน 5) ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ควรจัดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตและเลือกสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีให้แก่ครูผู้สอน เพื่อให้สามารถใช้และผลิตสื่อให้ตรงกับสาระการเรียนรู้ที่ใช้ในการสอน 6) ด้านการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ควรจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา 7) ด้านการนิเทศการศึกษา สถานศึกษาสร้างระบบงานนิเทศให้มีความชัดเจน ทั้งในด้านกรอบการทำงาน บุคคล ระยะเวลา เครื่องมือ/ สื่อ การสรุปรายงานผล การนำผลไปใช้ในครั้งต่อไป และ 8) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มีการดำเนินการตามแผนงานระบบประกันคุณภาพภายในอย่างเคร่งครัด
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectวิชาการ -- การบริหาร
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.titleปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานวิชาการของครูโรงเรียนวัดศรีพโลทัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
dc.title.alternativeProblems nd guided solutions cdemic ffirs techers in wtsriplothi school under the chonburi primry eductionl service re office 1
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study Problem and Guided Solutions of Academic Affairs of Teachers in Watsripalothai School Under The Chonburi Primary Educational Service Area Office 1 accordingly to The ministerial Rules and Method of Decentralization Education Administration and Management of 2550. The study was a qualitative research, data collection were done through interview and document analysis. The primary informants were teachers in Watsripalothai School Under The Chonburi Primary Educational Service Area Office 1. Purposive Sampling Method was used to select 7 teachers who responsible for Academic Affairs and participants who provided information on guided solutions were 1 administrator of Watsripalothai School, 1 Academic Affairs Head of Watsripalothai School and 1 Educational Advisor from The Chonburi Primary Educational Service Area Office 1. Method of Data analysis used were “Triangulations Analysis” and “Inductive Analysis” The results of the study were as follows: 1. Problems of Academic Affairs Teachers in Watsripalothai School Under The Chonburi Primary Educational Service Area Office 1 were 1) Development of the Curriculum of Academy Institute which most teachers do not have a good understanding on curriculum, especially the curriculums that have been developed but not fully utilized. 2) Learning Development while teachers developed a plan for Student-centered learning, contents were not in interest. 3) Assessment and Evaluation, this study found that teachers lack of experiences and expertise on assessment and evaluation leading to inconsistency of assessment and evaluation and not meeting standard and defined objectives. 4) Educational Quality Development Research, since teachers lacked of skills and expertise on research processes in classrooms, research aimed to resolve problem and improve learning and teaching processes were not conducted as the research was designed. 5) Medias, Innovation and Technology Development, teachers lacked experiences and expertise to produce medias, innovation that are used in learning and teaching process. As a medias result, produced were not aligned with learning contents 6) Problems concerning development of Learning Resource, causes lacking corporation and collaboration with community and direction to develop mutual learning resources between schools and community that most beneficial to students. 7) Educational supervision, after educational supervision was conducted, results and findings were not formally summarized and shared internally. Therefore, educational supervision audiences were not interested to make use of recommendation in order to improve their teaching and working processes. 8) Academy Institute Quality Assurance System Development, teachers lack of knowledge and understanding on the important of internal quality assurance system development . 2. This study obtained the following guided solutions 1) Inviting educational advisor or external lecturer to conduct a workshop to provide an overview on the Curriculum of Academy Institute to teachers, encouraging them to conduct Key Performance Indicator Based Learning as well as integrated learning management. 2) Encouraging teachers to analyze curriculum, students, learning contents and key performance indicators defined as per the curriculum, teachers to design learning activities encouraging Student-centered learning. 3) Invite lecturer or professor who have expertise on Assessment and Evaluation to provide know-how on Assessment and Evaluation in practices. 4) Conducting training session on research methodology in classroom to teachers. 5) Conducting training session on media production, selection, innovation and technology to teachers to enable them to be able to produce medias and make use of medias corresponding to learning contents. 6) Arranging budget to support learning resources development within academy institute. 7) Developing a structure clear of educational supervision processes around framework, personnel, timing, tools/media, report summary in order to make sure in the future. 8) Ensuring that academy Institute Quality Assurance are stickly carried out and follow the Interval Quality Assurance System.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameกศ.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น