กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6756
ชื่อเรื่อง: | ผลการปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมต่อคุณค่าในตนเองของผู้หญิงที่ผิดหวังในความรัก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of the rtion emotive behvior therpy with individul counseling on self-esteem of broken herted women |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมพงษ์ ปั้นหุ่น สุรินทร์ สุทธิธาทิพย์ ผ่องศรี คุณารักษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การให้คำปรึกษาแบบรายบุคคล มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา ความรัก ความรัก -- แง่จิตวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมต่อคุณค่าในตนเองของผู้หญิงที่ผิดหวังในความรัก เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตปริญญาตรีหญิงที่ผิดหวังในความรัก จำนวน 12 คน สมัครใจเข้าร่วมการวิจัยและมีความสมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษา มีประสบการณ์ ความผิดหวังในความรักแบบเพศตรงกันข้าม ในระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือนก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษา และมีคะแนนแบบวัดคุณค่าในตนเองตั้งแต่ 5 คะแนน สุ่มตัวอย่างแบบ Random assignment เพื่อจำแนกออกเป็น 2 คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 6 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดคุณค่าในตนเองและโปรแกรมการปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม แบบวัดคุณค่าในตนเอง ผู้วิจัยแปลจากแบบวัดของ Sorensen self-esteem test (Sorensen, 2006) และหาคุณภาพของแบบวัด ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .85 การวิจัยวัด 3 ระยะ คือ ก่อนทดลอง หลังทดลอง และติดตามผล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการปรึกษากับระยะเวลาการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้หญิงทิ่ผิดหวังในความรักที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษา มีคะแนนคุณค่าในตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้หญิงที่ผิดหวังในความรักที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษา มีคะแนนคุณค่าในตนเองในระยะหลังการทดลองแตกต่างกันกับในระยะก่อนการทดลอง และระยะติดตามผลแตกต่างกันกับในระยะก่อนการทดลองอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6756 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.63 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น