กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6740
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of internet ddiction behviors scle for students in mtthyomsuks 1-3 under the secondry eductionl service re office 18
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพรัตน์ วงษ์นาม
ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์
มนัญญา หาญอาสา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
นักเรียนมัธยมศึกษา -- พฤติกรรม
อินเทอร์เน็ตในการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างและหาคุณภาพแบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 และศึกษาผลการใช้แบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2556 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวน 1,125 คน จากโรงเรียน 50 โรงเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชุด ได้แก่ แบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 1 ฉบับ 53 ข้อ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ผลการสร้างแบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ได้แบบวัด ชนิดมาตรส่วนประมาณค่า (Rating scale) 6 ระดับ จำนวน 53 ข้อ 2. ผลการหาคุณภาพของแบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับได้ นั่นคือ มีความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าดัชนีสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง .80-1.00 อำนาจจำแนกรายข้อมีค่าอยู่ระหว่าง .34-.72 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.92 ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง มีดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างโมเดลการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่าดัชนีการวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.90 ค่าไคสแควร์ ( ) มีค่าเท่ากับ 2841.03 ระดับองศาอิสระ (df) มีค่าเท่ากับ 975 ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ ( / df) มีค่าเท่ากับ 2.91 ค่ารากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.045 และระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p) มีค่าเท่ากับ 0.00000 3. ผลการสร้างเกณฑ์ปกติวิสัย (Norms) ของแบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เมื่อนำมาเทียบกับเกณฑ์ปกติที่ระบุไว้ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6740
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น