กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6737
ชื่อเรื่อง: | ผลของการเคลือบสารสกัดจากชาเขียวและกรดแอสคอร์บิกต่อคุณภาพของกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ต้มสุก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effect of green te extrct nd scorbic cid coting on cooked pcific white shripm (litopeneus vnnmei) qulity |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปฎิยุทธ์ ขวัญอ่อน สวามินี ธีระวุฒิ ทรงพล สงวนทรัพย์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | สารสกัดจากสัตว์ -- การวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวาริชศาสตร์ สารสกัดจากสัตว์ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพและอายุการเก็บรักษาของเนื้อกุ้งขาว(Litopenaeus vannamei) ต้มสุกเคลือบสารสกัดจากชาเขียวและกรดแอสคอร์บิกที่ความเข้มข้นต่างกันได้แก่ T112 (สารสกัดจากชาเขียว 1.25% และกรดแอสคอร์บิก 1.25%), T106 (สารสกัดจากชาเขียว 1.25% และกรดแอสคอร์บิก 0.625%), T212 (สารสกัดจากชาเขียว 2.5% และกรดแอสคอร์บิก1.25%) และ T206 (สารสกัดจากชาเขียว 2.5% และกรดแอสคอร์บิก 0.625%) เปรียบเทียบกับเนื้อกุ้งขาวต้มสุกเคลือบสารละลายอัลจิเนต 0.002% (TAC) เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4±1 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 28 วัน พบว่า ในชุดการทดลอง T212 สามารถชะลอการเปลี่ยนแปลง คุณภาพทางจุลชีววิทยา (จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด) คุณภาพทางเคมี (TVB-N และ TMA-N) คุณภาพ ทางกายภาพ (aw , pH และแรงเฉือน) และคุณภาพทางประสาทสัมผัส (กลิ่น รสชาติกลิ่นรสและ เนื้อสัมผัส) ได้ดีที่สุด รองลงมาได้แก่ T206, T112, T106 และ TAC ตามลำดับ ทั้งนี้การเคลือบสาร สกัดจากชาเขียวและกรดแอสคอร์บิกมีผลต่อค่าสี (L*, a*และb*) และลักษณะปรากฏ เนื่องจากสีของสารสกัดจากชาเขียวทำให้เนื้อกุ้งขาวต้มสุกมีสีขาวอมเหลืองตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา ซึ่งเมื่อพิจารณาจากมาตรฐานของปริมาณ TVB-N ในสัตว์น้ำแปรรูปที่ควรมีปริมาณไม่เกิน 35 mg N/100g, TMA-N ไม่เกิน 5 mg N/100g และจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดไม่ควรเกิน 6.0 log CFU/g สรุปได้ว่า ชุดการทดลอง T212 เก็บรักษาได้ 22 วัน รองลงมาได้แก่ T112 และ T206 เก็บได้ 20 วัน T106 ที่เก็บได้ 14 วัน ในขณะที่ TAC เก็บได้เพียว 8 วัน และยังตรวจไม่พบจุลินทรีย์ก่อโรคทั้งโคลิฟอร์มแบคทีเรีย, E. coli, B. cereus, C. perfringens, Salmonella spp., S. aureusและ V. parahaemolyticus ในการเก็บรักษา |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6737 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.38 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น