กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6730
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่เหมาะสมกับประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of dul voctionl eduction system model for suitble industril trde using prticiptory ction reserch |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พงศ์เทพ จิระโร สมศักดิ์ ลิลา ไพฑูรย์ สังข์สวัสดิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การศึกษาทางช่าง อาชีวศึกษา -- ไทย มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา การศึกษาทางวิชาชีพ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคีของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 3) เพื่อทดลองใช้และประเมินรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิธีดำเนินการพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่เหมาะสมกับประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการสังเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus group) จำนวน 24 ท่าน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,005 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถาน ประกอบการ ครูฝึกในสถานประกอบการ หัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และนักศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 4 ชุด ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาสภาพทั่วไป 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม 3) เครื่องมือการประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของรูปแบบ 4) แบบประเมินประสิทธิผลของระบบ ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านบุคลากร 2) ด้านหลักสูตร 3) ด้านการวัดผลและประเมินผล 4) ด้านการจัดการเรียนการสอน 5) ด้านความร่วมมือกับสถานประกอบการ 2. ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า 3. ผลการประเมินประสิทธิผลของมาตรฐานด้านการใช้ประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้องทุกมาตรฐานมีผลประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6730 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.6 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น