กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6669
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทำนายพฤติกรรมเสี่ยงในการรับสัมผัสสารเคมีของพนักงานในสถานประกอบการซ่อมและเคาะพ่นสีรถยนต์ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors predicting risk behvior for chemicl exposure mong workers in repir nd spry pinting shop in bngkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นันทพร ภัทรพุทธ
ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
จิตติมา จันทร์อุไร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: การพ่นสี
สารเคมี -- มาตรการความปลอดภัย
สารเคมี -- การป้องกันและควบคุม
สารเคมี -- การจัดการ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมเสี่ยง ในการรับสัมผัสสารเคมี และศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมเสี่ยงในการรับสัมผัสสารเคมีของพนักงานในสถานประกอบการซ่อมและเคาะพ่นสีรถยนต์ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานในสถานประกอบซ่อมและเคาะพ่นสี 8 แห่งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 215 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติไคสแควร์สถิติสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มอายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี ร้อยละ 36.3 โดยมีค่าเฉลี่ยอายุเท่ากับ 36 ปี ร้อยละ 32.1 สำเร็จการศึกษาะดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 30.2 ทำงานในตำแหน่งช่างพ่นสี ร้อยละ 84.7 ทำงานสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง โดยเฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อวัน และร้อยละ 47.4 มีประสบการณ์ทำงานอยู่ในช่วง 1-5 ปี มีระดับคะแนนความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากสารเคมี อยู่ในระดับดี ร้อยละ 32.1 มีระดับคะแนนการรับรู้ในการรับสัมผัสสารเคมีอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 37.7 ได้รับการอบรมในระดับมาก ร้อยละ 75.3 ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกัน อันตรายส่วนบุคคลในระดับสูง ร้อยละ 85.1 ได้รับการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.8 และมีพฤติกรรมเสี่ยงในการรับสัมผัสสารเคมีอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 58.1 และพบว่า ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากสารเคมี การได้รับการอบรม การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และการได้รับการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมเสี่ยงในการรับสัมผัสสารเคมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) แต่การรับรู้ในการรับสัมผัสสารเคมี มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเสี่ยงในการรับสัมผัสสารเคมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< .01) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากสารเคมี การรับรู้ในการรับสัมผัสสารเคมี และการได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมเสี่ยงในการรับสัมผัสสารเคมีของพนักงานในสถานประกอบการซ่อมและเคาะพ่นสีรถยนต์ได้ร้อยละ 30.8 (p-value < .001) โดยที่ปัจจัยการได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลมากที่สุด ดังนั้น สมการถดถอยพหุคูณที่ใช้อธิบายพฤติกรรมเสี่ยงในการรับสัมผัสสารเคมีในพนักงานซ่อมและเคาะพ่นสีรถยนต์ คือ สมการถดถอยในรูปของคะแนนดิบ (β) Y = 35.268 -3.129X1 -1.496X2 + 0.950X3 สมการถดถอยในรูปของคะแนนมาตรฐาน (Beta) Y = -0.369X1 – 0.303X2 + 0.232X3
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6669
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น